#234D37

คู่มือเกี่ยวกับประเภทของไฟล์ 3 มิติ

ความก้าวหน้าของชิ้นงาน 3 มิติตลอดช่วงเวลาหลายทศวรรษเป็นผลมาจากความพยายามอย่างหนักร่วมกัน ด้วยเหตุนี้เอง จึงไม่มีโซลูชันในการเลือกรูปแบบไฟล์ที่เหมาะสมกับทุกสถานการณ์ เนื่องจากอุตสาหกรรม 3 มิติมีความก้าวหน้าในหลายๆ แวดวงและอุตสาหกรรม จึงมีรูปแบบไฟล์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย โดยมักจะมีจุดประสงค์การใช้งานที่เฉพาะเจาะจง นี่คือทุกสิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับประเภทของไฟล์และวิธีใช้งานไฟล์ในประเภทต่างๆ

{{explore-substance-3d}}

3D environmental rendering in 3D file format

https://main--cc--adobecom.hlx.page/cc-shared/fragments/merch/products/substance3d/sticky-banner/default

ประเภทของไฟล์ 3 มิติ

เนื่องจากบริษัทต่างๆ ได้ก้าวเข้าสู่พื้นที่ของงาน 3 มิติและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นความเป็นจริงเสมือน (VR), ความเป็นจริงเสริม (AR), การออกแบบเกม, เอฟเฟกต์ภาพ (VFX) และวิวัฒนาการของ CAD (Computer Aided Design) ที่มีมาอย่างยาวนาน จึงไม่แปลกที่จะมีไฟล์ประเภทใหม่ๆ ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับการใช้งานที่หลากหลายเหล่านี้

โดยทั่วไปแล้ว คุณจะพบเจอรูปแบบไฟล์ 2 ประเภท ได้แก่ ข้อมูลดิบทางเรขาคณิตแบบโพลีกอนกับ Boundary Representation (BREP) โดยขึ้นอยู่กับว่ารูปเรขาคณิตดังกล่าวแต่เดิมถูกสร้างไว้ที่ไหน แอปพลิเคชัน CAD สามารถแสดงวิธีการจัดเก็บข้อมูลดิบทางเรขาคณิตได้ทั้ง 2 วิธี เพื่อให้ข้อมูลทางเรขาคณิตมีความถูกต้องแม่นยำสูงสำหรับการใช้งาน CAD คุณยังจะพบเจอกับรูปแบบไฟล์อีกชุด ซึ่งจัดเก็บข้อมูลโพลีกอนมาตรฐานที่ใช้ในการพิมพ์รูป 3 มิติและเกมด้วย คำจำกัดความทางเรขาคณิตของทั้ง 2 ประเภทอาจมีความซับซ้อนและส่งผลให้ไฟล์มีขนาดใหญ่

ตัวอย่างประเภทของไฟล์ 3 มิติที่คุณอาจพบเจอได้บ่อยที่สุดและกรณีที่คุณควรพิจารณาใช้ มีดังนี้

3D architectural rending by ZUH Visuals in 3D file format.
รูปภาพโดย ZUH Visuals

OBJ

ไฟล์ OBJ (.obj) เก็บข้อมูลเรขาคณิต 3 มิติ OBJ เป็นหนึ่งในไฟล์ประเภทเก่าและพบได้บ่อยที่สุด โดยคุณสามารถพบเจอประเภทไฟล์นี้ได้เมื่อทำการส่งออกวัตถุจากซอฟต์แวร์ออกแบบโมเดลส่วนใหญ่ รูปแบบโพลีกอนนี้สามารถเทียบวัดมาตราส่วนได้ (เซนติเมตร นิ้ว และอื่นๆ) แต่รายละเอียดของวัสดุในรูปแบบไฟล์นี้ถือว่าล้าสมัยเมื่อเทียบกับเทคนิคการแรเงาและวัสดุสมัยใหม่่ อย่างไรก็ดี เมื่อพูดถึงการส่งออกเรขาคณิตที่ไม่ซับซ้อน ไฟล์ประเภทนี้ถือว่าเป็นมาตรฐานที่มั่นคงซึ่งสามารถนำไปใช้ต่อยอดให้เกิดประโยชน์ได้

ข้อดี

  • รองรับพื้นที่หน่วย (เซนติเมตร เมตร นิ้ว ฟุต)
  • รองรับวัตถุหลายชิ้นในไฟล์เดียว
  • โดยปกติแล้ว ไฟล์รูปแบบ OBJ จะมีขนาดเล็กกว่าไฟล์รูปแบบอื่นที่บันทึกโมเดลเดียวกันไว้
  • รองรับการทำงานร่วมกับเอนจินพัฒนาเกมตามมาตรฐานอุตสาหกรรม เครื่องมือหลังกระบวนการ DCC (Digitial Content Creation) ในด้านเอฟเฟกต์ภาพและอุตสาหกรรมเกม

FBX

ไฟล์ FBX (.fbx นั้นคล้ายกับไฟล์ OBJ ที่ประกอบด้วยข้อมูลดิบของวัตถุ 3 มิติเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ .fbx จะมีข้อมูลดิบภาพเคลื่อนไหวอยู่ด้วย ส่วนนี้เองที่ทำให้ไฟล์ประเภทนี้ได้รับความนิยมมากที่สุดในอุตสหากรรมภาพยนตร์ เกม เอฟเฟกต์ภาพ และอุตสาหกรรมทั้งหมดที่ต้องใช้โมเดล วัสดุ และภาพเคลื่อนไหวที่ซับซ้อน Autodesk เป็นเจ้าของรูปแบบไฟล์นี้ และมีการรองรับอย่างแพร่หลายกับทั้งเอนจินพัฒนาเกมและ VFX นอกจากนี้ ไฟล์ FBX ยังเก็บรายละเอียดของวัสดุให้มีความถูกต้องแม่นยำสูงและรองรับเอนจินการเรนเดอร์มากมาย

ข้อดี

  • ไฟล์ FBX จะจัดเก็บข้อมูลดิบของฉาก 3 มิติอย่างเต็มรูปแบบทั้งมุมกล้อง แสง เรขาคณิต และโครงที่ใช้ในการสร้างภาพเคลื่อนไหว
  • รองรับการทำงานร่วมกับเอนจินพัฒนาเกมตามมาตรฐานอุตสาหกรรม รวมถึงเครื่องมือหลังกระบวนการ DCC (Digitial Content Creation) ในด้านเอฟเฟกต์ภาพและอุตสาหกรรมเกม
  • แม้ว่า FBX จะเป็นรูปแบบไฟล์เก่า แต่ก็ได้รับการรองรับอย่างแพร่หลาย และเก็บข้อมูลมากมายไม่ใช่เพียงแค่ข้อมูลดิบของโมเดล 3 มิติ ซึ่งทำให้รูปแบบไฟล์นี้กลายเป็นตัวเลือกยอดนิยมในการสร้างผลงานที่ขับเคลื่อนด้วยภาพ เช่น ในวิดีโอเกม

glTF

GL Transmission Format (.glTF และ .glb) เป็นรูปแบบไฟล์โพลีกอนที่ทำหน้าที่คล้ายกับรูปแบบไฟล์อย่างเช่น FBX แต่จะเป็นแบบโอเพนซอร์สและปลอดค่าลิขสิทธิ์ แต่เดิมแล้วรูปแบบไฟล์นี้ถูกสร้างขึ้นโดยคณะทำงาน COLLADA แต่ปัจจุบันรูปแบบไฟล์ที่มีการแชร์และอนุญาตให้นำไปใช้งานได้อย่างอิสระสำหรับการแลกเปลี่ยนโมเดลและฉากนี้อยู่ภายใต้การดูแลของ KROHON Group ไฟล์ประเภทนี้รองรับโมเดลภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และฉากที่มีการเคลื่อนไหวเช่นเดียวกันกับไฟล์ FBX โดยผู้พัฒนามักจะใช้รูปแบบไฟล์นี้ในแอปพลิเคชันบนเว็บแบบเดิม เนื่องจากเป็นหนึ่งในรูปแบบไฟล์ที่สมัยใหม่ จึงรองรับวิธีการแบบล่าสุดในการปรับแสงเงาและรายละเอียดของวัสดุ โดยในเวอร์ชันอัปเดต 2.0 ก็ได้มีการปรับปรุงให้รองรับวัสดุที่เรนเดอร์ตามจริง (PBR)

ข้อดี

  • สามารถฝังลงในเอกสาร Word และสไลด์นำเสนอ PowerPoint ได้
  • เข้ากันได้กับแอปพลิเคชัน 3 มิติยอดนิยมที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ
  • ไฟล์ GLTF และ GLB ได้รับการปรับแต่งให้เหมาะกับการทำงานบนเว็บและการโต้ตอบแบบเรียลไทม์ เมื่อเปรียบกับไฟล์รูปแบบอื่นแล้วไฟล์ประเภทนี้จะมีขนาดเล็กกว่าและโหลดได้รวดเร็วในแอปพลิเคชันต่างๆ

usd/usdz

USD (Universal Scene Descriptor) เป็นประเภทไฟล์แบบโพลีกอนที่ Pixar พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้เป็นการภายใน แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นไฟล์โอเพนซอร์ส รูปแบบไฟล์ที่รองรับการเพิ่มฟังก์ชันในระบบนี้กำลังมีฟังก์ชันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะใช้มาตรฐานที่เปิดกว้างและมีคณะทำงานจากหลากหลายบริษัท เช่น Nvidia, Pixar และ Adobe รูปแบบไฟล์นี้แสดงให้เห็นถึงแนวคิดล่าสุดสำหรับโมเดล 3 มิติ วัสดุ และการทำงานร่วมกันผ่านเครื่องมือสร้างสรรค์เนื้อหาที่ต่างกันไปหลากหลายแบบ รูปแบบไฟล์ USD ประกอบด้วยข้อมูลดิบทางเรขาคณิต วัสดุ ฉาก และภาพเคลื่อนไหว USD เติมเต็มความคาดหวังเกี่ยวกับรูปแบบไฟล์ในหลายๆ ด้าน เนื่องจากรูปแบบไฟล์นี้สามารถจัดเก็บข้อมูลดิบเกี่ยวกับฉากทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

USDZ คือรูปแบบไฟล์ที่สร้างและเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันระหว่าง Apple กับ Pixar ซึ่งออกแบบมาเพื่อ AR โดยเฉพาะ รูปแบบไฟล์นี้มีไว้สำหรับใช้งานกับแอปความเป็นจริงเสริม 3 มิติบนอุปกรณ์ Apple

ข้อดี

  • ชุมชนที่มีการใช้งานและเติบโตอย่างต่อเนื่องที่ประกอบด้วยบริษัทที่มีชื่อเสียงผู้ซึ่งมองเห็นศักยภาพของรูปแบบไฟล์นี้ที่มีต่องานและอนาคตของโลก 3 มิติ
  • รูปแบบไฟล์นี้ทั้งยืดหยุ่น ทรงพลัง และมีประสิทธิภาพ จึงรองรับการเพิ่มฟังก์ชันในระบบผ่านปลั๊กอินและส่วนขยาย ทำให้บริษัทต่างๆ สามารถแชร์ฟังก์ชันการใช้งานต่างๆ ในรูปแบบ USD ได้
  • รองรับการทำงานร่วมกับวัสดุ PBR, รายละเอียดที่สมจริงและทันสมัยที่สุด หรือวัสดุและการปรับแสงเงาของวัตถุ 3 มิติ

รูปแบบไฟล์ 3 มิติอื่นๆ

รูปแบบไฟล์ในอุตสาหกรรม 3 มิตินั้นมีมากมาย ตัวอย่างไฟล์อื่นๆ ที่คุณมักจะพบ มีดังนี้

  • ไฟล์ CAD บางไฟล์จะมีกรรมสิทธิ์ที่ให้ใช้เฉพาะในระบบนิเวศแบบปิด ในขณะที่ไฟล์อื่นๆ ที่ไม่มีกรรมสิทธิ์สามารถนำไปใช้โดยที่ยังคงเก็บรายละเอียดทางเรขาคณิตให้มีความถูกต้องแม่นยำสูง คุณอาจเจอรูปทรง 2 มิติ 3 มิติ หรือแม้กระทั่งรูปทรงพาราเมตริกในไฟล์เหล่านี้ ดูรายการไฟล์ CAD ทั้งหมดที่รองรับใน Substance 3D Stager ได้ในเอกสารประกอบนี้ (IGES, STP/STEP, IPT, IAM, .SLD, .JT และอื่นๆ)
  • ไฟล์ BLEND เป็นรูปแบบไฟล์ดั้งเดิมที่ใช้ใน Blender ซึ่งเป็นเครื่องมือสร้างสรรค์เนื้อหาดิจิทัลแบบโอเพนซอร์สที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในหมู่ครีเอเตอร์
  • ไฟล์ Substance 3D หรือ SBSAR เป็นไฟล์ที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งสร้างขึ้นโดย Substance 3D Designer, Sampler และ Painter เพื่อใช้สร้างวัสดุและกำหนดแสงเงาสำหรับเนื้อหา 3 มิติ ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไฟล์ Substance 3D ในภาพรวมให้ข้อมูลนี้
  • AMF และ STL คือชื่อของ 2 รูปแบบไฟล์ที่พบได้บ่อยที่สุดในการพิมพ์ 3 มิติ AMF เป็นการปรับปรุงใหม่ที่ทันสมัยกว่า STL และจะนำเอาข้อมูลเมตาจากภายในมาใช้เพื่อช่วยเหลือในด้านการพิมพ์และมาตราส่วน STL เป็นรูปแบบที่เก่ากว่า AMF ซึ่งขาดข้อมูลสีและมาตราส่วน

3D building rendering by ZUH Visuals generated with 3D file formatting.

รูปภาพโดย ZUH Visuals

วิธีเลือกรูปแบบไฟล์ที่เหมาะสมสำหรับโปรเจกต์ 3 มิติของคุณ

การตัดสินใจเลือกว่ารูปแบบไฟล์ไหนเหมาะกับโปรเจกต์ของคุณอาจขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย ขั้นตอนแรก ให้ตรวจสอบความเข้ากันได้ก่อน หากคุณจำเป็นต้องถ่ายโอนส่วนประกอบ 3 มิติระหว่างซอฟต์แวร์ คุณก็คงไม่อยากเสียเวลาไปกับการส่งออกประเภทไฟล์ที่ใช้งานไม่ได้

ข้อควรพิจารณาอื่นๆ อาจรวมไปถึงขนาดของไฟล์ที่ส่งออก ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาวิดีโอเกมหรือโปรเจกต์ 3 มิติใดๆ ที่มีข้อจำกัดด้านฮาร์ดแวร์ที่เฉพาะเจาะจง อย่าลืมว่าไฟล์แต่ละประเภทสร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ที่ต่างกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจซอฟต์แวร์ของคุณและเหตุผลว่าทำไมไฟล์แต่ละประเภทจึงถูกรวมอยู่ในซอฟต์แวร์นั้นๆ จะช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจส่งออกในทุกๆ ครั้งได้อย่างชาญฉลาด

คำถามที่พบบ่อย

รูปแบบไฟล์ 3 มิติใดดีที่สุด

ไฟล์ 3 มิติแต่ละรูปแบบสร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ที่ต่างกัน ดังนั้น การเลือกใช้รูปแบบไฟล์ที่เหมาะสมที่สุดจึงขึ้นอยู่กับเหตุผลที่คุณต้องใช้ไฟล์ดังกล่าว

รูปแบบไฟล์ 3 มิติใดบ้างที่พบได้บ่อยที่สุด

ประเภทไฟล์ที่พบได้บ่อยที่สุดได้แก่ OBJ, FBX, STL, AMF, IGES และอีกมากมาย

Photoshop เปิดรูปแบบไฟล์ 3 มิติใดได้บ้าง

รูปแบบไฟล์ 3 มิติที่สามารถเปิดใน Photoshop ได้ ได้แก่ DAE (Collada), OBJ, 3DS, U3D และ KMZ (Google Earth)

หากต้องการเปิดเฉพาะไฟล์ 3 มิติใน {{photoshop}} ให้เลือก File > Open จากนั้นเลือกไฟล์ที่ต้องการ

หากต้องการเพิ่มไฟล์ 3 มิติเป็นเลเยอร์ในไฟล์ที่เปิดอยู่ ให้เลือก 3D > New Layer From 3D File จากนั้นจึงเลือกไฟล์ 3 มิติที่ต้องการ เลเยอร์ใหม่จะมีขนาดเดียวกันกับไฟล์ที่เปิดอยู่และจะแสดงโมเดล 3 มิติบนพื้นหลังโปร่งใส

https://main--cc--adobecom.hlx.page/cc-shared/fragments/products/substance3d/bottom-blade-cta-s3d-collection