การกระเจิงใต้พื้นผิวคืออะไร คู่มือที่มีเนื้อหาครอบคลุมเกี่ยวกับการเรนเดอร์ 3 มิติที่สมจริง

การกระเจิงใต้พื้นผิวมักเรียกแบบย่อว่า “SSS” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อแสงส่องผ่านพื้นผิวของวัตถุโปร่งแสง เกิดการกระเจิงแสง แล้วจากนั้นจึงส่องออกมาจากตำแหน่งอื่น

rendering of a person glowing under a light in front of a starry sky

การกระเจิงใต้พื้นผิวมักเรียกแบบย่อว่า “SSS” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อแสงส่องผ่านพื้นผิวของวัตถุโปร่งแสง เกิดการกระเจิงแสง แล้วจากนั้นจึงส่องออกมาจากตำแหน่งอื่น กระบวนการนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งหากต้องการเรนเดอร์กราฟิก 3 มิติที่มีความสมจริง โดยเฉพาะสำหรับการจำลองพื้นผิวอย่าง ไข หินอ่อน และแม้แต่ผิวหนังของมนุษย์

การทำความเข้าใจกับ SSS ในฐานะศิลปิน 3 มิติช่วยให้การสร้างงานออกแบบที่สมจริงอย่างไม่น่าเชื่อเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ หากคุณต้องการสร้างโมเดลตัวละคร SSS จะสามารถสร้างความแตกต่างได้ระหว่างใบหน้าที่มีลักษณะเหมือนตุ๊กตากับตัวละครที่มีลมหายใจเหมือนมีชีวิตอยู่จริง เราจะเจาะลึกรายละเอียดในคู่มือนี้ว่า SSS ทำงานอย่างไร และจะนำไปใช้กับผลงานสร้างสรรค์ของคุณเองได้อย่างไร

การกระเจิงใต้พื้นผิวในวงการ 3 มิติคืออะไร

การกระเจิงใต้พื้นผิวคือเทคนิคที่จำลองการตกกระทบของแสงบนวัสดุ แสงบางส่วนไม่ได้สะท้อนออกจากพื้นผิวของวัตถุ แต่จะเคลื่อนไหวผ่านตัววัตถุ เกิดการกระเจิง แล้วส่องออกมาจากจุดต่างๆ แทน

เทคนิคการจัดแสง 3 มิตินี้จะเลียนแบบพฤติกรรมของแสงที่เกิดขึ้นในโลกจริง หากไม่มี SSS โมเดล 3 มิติจะมีลักษณะเหมือนพลาสติกหรือมีความทึบแสง แต่ว่าการนำ SSS มาใช้จะเพิ่มความลึกและความสมจริง ช่วยให้วัตถุมีรูปลักษณ์ที่ดูนุ่มนวลขึ้นหรือส่องประกายมากขึ้น

วิทยาการเบื้องหลังการกระเจิงใต้พื้นผิว

เมื่อแสงตกกระทบบนวัตถุจะเกิดการสะท้อน ส่องผ่าน หรือเปลี่ยนเป็นความร้อน เมื่อแสงทะลุผ่านวัสดุ แสงจะเกิดการสะท้อนรอบๆ วัตถุดังกล่าวจากภายใน โดยอิงจากโครงสร้างขนาดจิ๋วของวัตถุ คุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุจะส่งผลต่อความลึกและรูปแบบการเคลื่อนที่ของแสงภายในวัสดุ

ในแง่ของ SSS วัสดุที่ต่างกันจะมีคุณสมบัติทางการกระเจิงที่ไม่เหมือนกัน วัสดุที่มีความหนาแน่นเช่น หิน จะไม่มี SSS มากนัก ในขณะที่วัสดุอย่างผิวหนังหรือไขจะมีการกระเจิงที่เด่นชัด

เหตุใดการกระเจิงใต้พื้นผิวจึงมีความสำคัญต่องานศิลปะ 3 มิติ

การกระเจิงใต้พื้นผิวคือเทคโนโลยีที่สร้างความแตกต่างครั้งใหญ่ต่องานศิลปะ 3 มิติ ในโลกความจริงนั้น แสงจะไม่สะท้อนจากพื้นผิวภายนอก แต่แสงจะทะลุผ่าน กระเจิง และส่องออกเพื่อสร้างการแพร่กระจายแบบนุ่มนวลแทน ศิลปิน 3 มิติจึงใช้ SSS เลียนแบบปรากฏการณ์นี้เพื่อให้ได้การจำลองที่สมจริงของวัสดุต่างๆ เช่น ผิวหนัง ไข หินอ่อน และอื่นๆ

SSS มีการนำไปใช้ในงานศิลปะ 3 มิติต่างๆ มากมาย แต่หลักๆ แล้วเทคนิคนี้มีความสำคัญต่อการออกแบบตัวละคร มนุษย์และสัตว์จะดูมีความสมจริงมากขึ้นหากมีการส่องสว่างที่ผิวหนังจากด้านหลัง เช่น แสงอาทิตย์ที่ส่องผ่านทางหูหรือนิ้วมือ สำหรับการเรนเดอร์ผลิตภัณฑ์นั้น SSS ช่วยให้วัสดุที่มีลักษณะโปร่งแสงอย่างโป๊ะโคมดูมีความเป็นธรรมชาติมากขึ้น

SSS จะลบรูปลักษณ์ที่ดูเหมือนพลาสติกและดูไม่สมจริงของโมเดล 3 มิติ และให้ความสว่างแบบธรรมชาติที่ช่วยให้ดูใกล้เคียงกับวัสดุในชีวิตจริงมากขึ้น

วิธีลงสีการกระเจิงใต้พื้นผิว

ลองดูขั้นตอนเกี่ยวกับการลงสีการกระเจิงใต้พื้นผิวดังนี้

  1. ค้นหารูปภาพอ้างอิง ข้อมูลอ้างอิงในชีวิตจริงจะช่วยให้คุณเลือกการตั้งค่า SSS ที่สมจริงได้มากที่สุด
  2. เลือกเชดเดอร์ที่เหมาะสม เริ่มต้นโดยการเลือกวัสดุหรือเชดเดอร์ที่รองรับการกระเจิงใต้พื้นผิว
  3. เลือกสีพื้น นี่จะเป็นสีหลักของวัตถุของคุณ
  4. ปรับเปลี่ยนพารามิเตอร์ SSS กำหนดความลึกและสีของแสงที่กระเจิง ปรับพารามิเตอร์อย่าง “รัศมี” และ “ความลึก” เพื่อกำหนดระยะทางที่แสงเคลื่อนที่และ “สีการกระเจิง” เพื่อเปลี่ยนสีสันของแสงที่กระเจิง

การนำการกระเจิงใต้พื้นผิวไปใช้ปฏิบัติจริง

การกระเจิงใต้พื้นผิวช่วยยกระดับการเรนเดอร์ 3 มิติแบบธรรมดาให้มีความสมจริงราวกับภาพถ่าย ด้วยเหตุนี้ SSS จึงเป็นเทคนิคที่มีความนิยมสูงสำหรับอุตสาหกรรมและกรณีการใช้งานที่หลากหลาย นักออกแบบวิดีโอเกมและภาพยนตร์ใช้ SSS สร้างตัวละครให้มีผิว ตา และปากที่ออกมาสมจริง นอกจากนี้ SSS ยังมีประโยชน์สำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยแสดงถึงส่วนโลหะที่ส่องประกายบนเฟอร์นิเจอร์หรือความฉ่ำวาวของเครื่องสำอาง

เพิ่มแสงสว่างให้กับผลงานสร้างสรรค์ของคุณ: การกระเจิงใต้พื้นผิวด้วย Adobe Substance

การกระเจิงใต้พื้นผิวคือตัวพลิกโฉมที่ปฏิวัติงานศิลปะ โมเดล และตัวละคร 3 มิติ เทคนิคนี้กระจายแสงและให้ลักษณะที่เป็นธรรมชาติมากขึ้นแก่โมเดล 3 มิติ ช่วยให้งานสร้างสรรค์ของคุณแสดงออกถึงรูปลักษณ์และความรู้สึกที่ดูเป็นมืออาชีพมากขึ้น หากคุณกำลังสำรวจกราฟิก 3 มิติอยู่ อย่าหยุดอยู่แค่การจัดแสงในระดับผิวเผิน ทดลองใช้การกระเจิงใต้พื้นผิวใน Adobe Substance 3D เพื่อทำให้ผลงานสร้างสรรค์แบบดิจิทัลของคุณดูเหมือนของจริง

คำถามที่พบบ่อย

การกระเจิงใต้พื้นผิวในวงการเกมคืออะไร

การกระเจิงใต้พื้นผิวคือเทคนิคการเรนเดอร์ที่จำลองวิธีการที่แสงทะลุผ่านและเกิดการกระเจิงในตัวละคร สภาพแวดล้อม และวัตถุในวิดีโอเกม ซึ่งเทคนิคนี้ถือเป็นสิ่งที่สำคัญหากต้องการให้การแสดงผลของผิวหนัง ไข ใบไม้ และอื่นๆ ออกมาสมจริง

การกระเจิงใต้พื้นผิวมีเอฟเฟกต์อะไรบ้าง

การกระเจิงใต้พื้นผิวมีเอฟเฟกต์มากมายดังนี้

● ทำให้การเปลี่ยนช่วงระหว่างแสงและเงามีความนุ่มนวลขึ้น

● ให้เอฟเฟกต์ของแสงที่ส่องประกาย

● ความลึกและปริมาตร

● การเรนเดอร์พื้นผิวแบบสมจริง

การทะลุผ่านและการกระเจิงใต้พื้นผิวแตกต่างกันอย่างไร

ทั้งสองเทคนิคนี้เกี่ยวข้องกับการที่แสงทะลุผ่านวัสดุเหมือนกัน แต่ให้เอฟเฟกต์ที่ต่างกัน การทะลุผ่านคือกระบวนการที่แสงทะลุผ่านวัสดุขนาดบาง เช่น แก้ว แล้วทำให้แสงเกิดการเบนหรือหักเห เทคนิคนี้เน้นที่ลักษณะการเคลื่อนผ่านวัตถุของแสง ในทางกลับกัน การกระเจิงใต้พื้นผิวจะกระจายและกระเจิงแสงภายใต้พื้นผิวที่ต่างกัน โดยเน้นที่ลักษณะการตอบสนองของแสงภายใต้พื้นผิวภายนอกของวัตถุ

https://main--cc--adobecom.hlx.page/cc-shared/fragments/products/substance3d/bottom-blade-cta-s3d-collection