ถ่ายภาพ Long Exposure อย่างใจเย็น
การปรับความเร็วชัตเตอร์ช่วยให้ช่างภาพมีอำนาจอยู่เหนือเวลา ดูว่าคุณสามารถพลิกโฉมให้หมู่ดาวที่อยู่ห่างไกลออกไปกลายเป็นเส้นแสงประกายและเปลี่ยนสายน้ำเชี่ยวกรากให้กลายเป็นผืนน้ำอันนุ่มนวลด้วยการถ่ายภาพ Long Exposure ได้อย่างไร
สำรวจรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการถ่ายภาพ Long Exposure
ช่างภาพสามารถหยุดเวลาและถ่ายภาพโลกตรงหน้าได้ด้วยความเร็วชัดเตอร์สูงๆ การเปิดรับแสงนานยิ่งขึ้นจะทำให้รู้สึกเหมือนเวลาเดินด้วยความเร็วที่ต่างไปจากเดิมและทำให้ภาพดูมีความเคลื่อนไหว “การถ่ายภาพ Long Exposure คือการที่คุณปล่อยให้เซนเซอร์กล้องของคุณเปิดรับแสงเป็นเวลานานกว่าปกติ เป้าหมายหลักๆ อย่างหนึ่งคือเพื่อเผยให้เห็นรายละเอียดในส่วนมืดๆ ของฉากมากยิ่งขึ้น” ช่างภาพ Nick Ulivieri อธิบาย “หรือสำหรับวัตถุประสงค์ที่สร้างสรรค์มากกว่านั้น คุณก็อาจอยากใช้เทคนิค Long Exposure เพื่อทำให้ดูเหมือนมีการเคลื่อนไหวในภาพ”
โดยมีการถ่ายภาพโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1/60 วินาที แต่การปรับความเร็วชัตเตอร์และเปิดชัตเตอร์ทิ้งไว้เป็นเวลานานกว่าเดิมจะช่วยให้คุณสามารถเก็บแสงได้มากกว่าและถ่ายภาพในแบบใหม่ๆ ได้ แต่การเปิดชัตเตอร์ของของคุณทิ้งไว้จะส่งผลต่อการตั้งค่าอื่นๆ ในกล้องของกล้อง ซึ่งรวมถึงรูรับแสงและ ISO การเปิดรับแสงเป็นเวลานานๆ ช่วยให้คุณสามารถถ่ายภาพที่งดงามได้ แต่การถ่ายภาพเช่นนั้นให้สำเร็จต้องอาศัยการทดสอบและการลองถ่ายภาพเพื่อหาเวลาการเปิดรับแสงที่เหมาะที่สุด
เจาะลึกรายละเอียดทางเทคนิค
หากคุณต้องการก้าวเข้าสู่โลกแห่งการถ่ายภาพภูมิทัศน์หรือการถ่ายภาพกลางคืน คุณควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกต่างๆ เกี่ยวกับการถ่ายภาพ Long Exposure ก่อน เมื่อแสงมีปริมาณน้อย เช่น ช่วงเวลาหลังพระอาทิตย์ตกที่ท้องฟ้าเต็มไปด้วยสีสันต่างๆ การถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์สูงจะไม่ช่วยให้คุณจับภาพความงดงามออกมาได้อย่างครบถ้วน แต่การถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำก็ไม่ช่วยให้ภาพออกมาตามที่คุณต้องการเช่นกัน
เตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อม
การถ่ายภาพ Long Exposure ให้สำเร็จได้ต้องอาศัยการฝึกฝนและความเข้าใจเกี่ยวกับกล้องและอุปกรณ์ของคุณ คุณควรป้องกันไม่ให้กล้องสั่นเพื่อให้สามารถถ่ายภาพที่ยอดเยี่ยมออกมาได้ “ขาตั้งกล้องเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุด ถ้าคุณไม่มีขาตั้งกล้องที่มั่นคงแล้วมีลมพัดมาทำให้กล้องสั่น ภาพที่คุณถ่ายได้จะเป็นภาพเบลอๆ” ช่างภาพและศาสตราจารย์ Adam Long อธิบาย แม้แต่การกดปุ่มชัตเตอร์บนกล้องของคุณก็อาจทำให้กล้องสั่นได้ ดังนั้นการใช้ปุ่มบนสายลั่นชัตเตอร์จะช่วยให้คุณตั้งเวลาและเริ่มเปิดรับแสงได้โดยไม่ต้องสัมผัสตัวกล้อง
กล้องแต่ละตัวนั้นแตกต่างกัน แต่กล้อง DSLR และกล้องดิจิทัลล้วนมีโหมดแมนนวล ซึ่งช่วยให้ช่างภาพสามารถเลือกกำหนดค่ารูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์ และ ISO ของตัวเองได้ กล้องบางตัวสามารถกำหนดความเร็วชัตเตอร์ได้นานถึง 30 วินาทีสำหรับการถ่ายภาพ Long Exposure หากต้องการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่นานกว่านั้น คุณจะต้องใช้การตั้งค่า Bulb (บางครั้งเรียกว่าโหมด Bulb) เพื่อเปิดรับแสงอย่างเหมาะสม การใช้การตั้งค่า Bulb ในกล้องจะช่วยให้คุณสามารถเปิดชัตเตอร์ค้างไว้เป็นเวลานานเท่าที่คุณต้องการตราบใดที่คุณกดปุ่มบนสายลั่นชัตเตอร์ไว้
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับรูรับแสงและ ISO
ความเร็วชัตเตอร์ รูรับแสง และ ISO ล้วนเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดและส่งผลต่อการเปิดรับแสงของภาพ เมื่อการตั้งค่าหนึ่งเปลี่ยนไป คุณจะต้องปรับการตั้งค่าอื่นๆ ตามกันไปด้วยเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว การใช้ค่า F-Stop สูงๆ จะส่งผลให้รูรับแสง (ช่อง) ในเลนส์ของคุณมีขนาดเล็กมาก ซึ่งเป็นการจำกัดปริมาณของแสงที่เซนเซอร์กล้องได้รับ รูรับแสงขนาดเล็กหมายความว่าคุณจำเป็นต้องปรับความเร็วชัตเตอร์และเวลาการเปิดรับแสงให้นานขึ้น อีกทั้งยังอาจต้องเพิ่มค่า ISO หรือความไวแสง แต่อาจเพิ่ม ISO อาจทำให้เกิดเกรนในภาพของคุณได้
ปกติแล้วมักจะถ่ายภาพ Long Exposure ด้วยค่า F-Stop สูงๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เปิดรับแสงในภาพมากเกินไป แต่คุณก็สามารถสร้างสรรค์ภาพถ่าย Long Exposure ได้ด้วยเช่นกัน โดยต้องดำเนินการตามขั้นตอนอื่นๆ เพิ่มเติมไม่กี่ขั้นตอน
ฟิลเตอร์ Neutral Density หรือที่เรียกกันว่าฟิลเตอร์ ND หรือฟิลเตอร์ 10 Stop มีตำแหน่งอยู่ที่หน้าเลนส์กล้องเพื่อลดปริมาณของแสงที่ผ่านเข้าสู่ตัวกล้อง ซึ่งช่วยให้คุณสามารถถ่ายภาพโดยใช้ค่า F-Stop และ ISO ต่ำๆ ขณะใช้ความเร็วชัตเตอร์ยาวๆ ไปพร้อมกัน ฟิลเตอร์ ND เป็นประโยชน์ต่อการถ่ายภาพระหว่างวันเมื่อแสงจ้ามากเป็นพิเศษ กล่าวโดยสรุปคือ ฟิลเตอร์ ND ช่วยให้ช่างภาพสามารถควบคุมระยะชัดลึกและความเร็วชัตเตอร์ได้มากขึ้น
โฟกัสแบบแมนนวล
คุณควรใช้การตั้งค่าโฟกัสแบบแมนนวลในกล้องแทนการตั้งค่าแบบโฟกัสอัตโนมัติ เมื่อใช้โฟกัสแบบแมนนวล คุณจะสามารถกำหนดระยะชัดลึกของคุณและวัตถุที่ต้องการโฟกัสได้อย่างแม่นยำมากกว่า คุณย่อมไม่อยากให้กล้องโฟกัสวัตถุที่ไม่ต้องการในภาพของคุณโดยอัตโนมัติและทำให้สูญเสียเวลาการเปิดรับแสงสองนาทีไปอย่างเปล่าประโยชน์
สำรวจความเป็นไปได้ในการถ่ายภาพ Long Exposure
ทีนี้เมื่อคุณเข้าใจกลไกต่างๆ ของการถ่ายภาพ Long Exposure แล้ว ก็ถึงเวลาในการสำรวจดูความเป็นไปได้ เช่นเดียวกับการถ่ายภาพรูปแบบอื่นๆ คุณไม่สามารถควบคุมปัจจัยทุกอย่างได้ “คุณจะต้องคาดการณ์เพื่อเตรียมพร้อมในกรณีที่มีลมพัดจนต้นไม้ขยับหรือเมื่อมีรถขับผ่านหน้ากล้อง คุณต้องจินตนาการไว้ว่าภาพจะออกมาเป็นอย่างไร” Long อธิบาย การฝึกทักษะในการจินตนาการภาพรวมถึงการเรียนรู้ว่าคุณสามารถควบคุมปัจจัยได้บ้างและควบคุมอย่างไรจะช่วยให้คุณถ่ายภาพได้ดีที่สุดภายในสภาพแวดล้อมที่คุณอยู่
การถ่ายภาพภูมิทัศน์ด้วยเทคนิค Long Exposure
หนึ่งในเวลาที่เหมาะแก่การถ่ายภาพ Long Exposure ที่สุดคือช่วงเวลา 15 นาทีหลังพระอาทิตย์ตกดิน “แสงจะสวยงามที่สุดในช่วงเวลานั้น และท้องฟ้ายังสีสันอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งเป็นเวลาที่เหมาะแก่การถ่ายภาพ Long Exposure เพราะแสงนั้นสมดุลกันระหว่างท้องฟ้าสีเข้มเบื้องบนและแสงสีเจิดจ้าในเมืองด้านล่าง” Ulivieri อธิบาย การถ่ายภาพ Long Exposure เปิดโอกาสให้คุณสามารถถ่ายภาพโดยเน้นให้เห็นสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของสถานที่นั้นๆ ได้ ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะถ่ายภาพภูมิทัศน์ที่ดูชวนฝันหรือภาพทิวทัศน์ทะเลอันกว้างไกล การถ่ายภาพ Long Exposure ก็ถือเป็นโอกาสให้คุณได้ถ่ายภาพแบบใหม่ๆ ในทุกครั้ง
การถ่ายภาพกลางคืน
Long เล่าว่า “การถ่ายภาพในตอนกลางคืนถือเป็นการถ่ายภาพ Long Exposure ประเภทที่พบได้บ่อยที่สุด” เนื่องจากตอนกลางคืนมีแสงโดยรอบน้อยกว่า คุณจึงต้องปรับการเปิดรับแสงให้นานยิ่งขึ้นเพื่อรับมือกับปัจจัยดังกล่าว ไม่ว่าคุณจะถ่ายภาพเส้นแสงดาวตลอดช่วงเวลาหลายชั่วโมงหรือเส้นแสงจากไฟรถที่ขับผ่านไปบนถนน การถ่ายภาพกลางคืนก็ถือเป็นโอกาสอันยอดเยี่ยมในการเน้นให้เห็นเวลาที่ผ่านไปด้วยเทคนิค Long Exposure และภาพที่ถ่ายได้ก็มักจะออกมาดูงดงามสะกดสายตา
การถ่ายภาพพายุฝนฟ้าคะนอง
การถ่ายภาพเพื่อเน้นให้เห็นพายุฝนฟ้าคะนองอันคาดการณ์ไม่ได้นั้นเป็นการถ่ายภาพ Long Exposure ที่ยอดเยี่ยมอีกทางหนึ่ง เพราะคุณไม่มีทางรู้ได้เลยว่าฟ้าจะผ่าลงมาเมื่อไร ซึ่ง Ulivieri อธิบายว่า “ถ้าผมถ่ายภาพโดยเปิดรับแสงเป็นเวลา 12 วินาทีตามสภาพอากาศบนท้องฟ้า ผมจะถ่ายภาพซ้ำไปเรื่อยๆ ต่อกันอย่างรวดเร็วแล้วหวังว่าชัตเตอร์ของผมจะเปิดพร้อมในตอนที่ฟ้าผ่า” การถ่ายภาพสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลาในภาพเดียวต้องอาศัยการฝึกฝนและความอดทน แต่การทำความเข้าใจกลไกต่างๆ ของภาพถ่าย Long Exposure จะช่วยให้คุณเข้าใกล้การถ่ายภาพพายุสวยๆ เข้าไปอีกก้าว
ไม่ว่าคุณจะเลือกถ่ายภาพสิ่งใด การถ่ายภาพ Long Exposure ก็ช่วยให้ศิลปินสามารถควบคุมเวลาได้ต่างไปจากเดิม คุณจะได้เรียนรู้ว่าการตั้งค่าและอุปกรณ์ใดเหมาะกับแต่ละสถานการณ์ที่สุดผ่านการลองผิดลองถูก ทีนี้ก็เหลือเพียงต้องตัดสินใจว่าคุณอยากถ่ายภาพอะไรก่อน
ผู้มีส่วนร่วม
และคุณอาจสนใจ...
ค้นพบรายละเอียดในการถ่ายภาพท้องฟ้ายามค่ำคืนอันน่าทึ่ง
สำรวจโลกแห่งการถ่ายภาพพายุฝนฟ้าคะนองอันน่าตื่นตาตื่นใจ
ค้นพบวิธีถ่ายภาพฟ้าผ่าด้วยกล้องและเรียนรู้เคล็ดลับด้านความปลอดภัยในการถ่ายภาพพายุ
การถ่ายภาพกลางคืน
แสงน้อยไม่ได้ทำให้ภาพมีคุณภาพต่ำเสมอไปด้วยเคล็ดลับการถ่ายภาพกลางคืนให้ดูดีเหล่านี้
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเร็วชัตเตอร์
ค้นพบว่าการปรับความเร็วชัตเตอร์ช่วยให้คุณถ่ายภาพที่ชัดเจนได้หรือจับภาพช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยการเคลื่อนไหวได้อย่างไร