เคล็ดลับการถ่ายภาพภูมิทัศน์สำหรับมือใหม่

ถ่ายภาพทิวทัศน์ให้น่าจดจำ 

ภาพถ่ายภูมิทัศน์ของถนนที่นำไปสู่ภูเขาในฤดูใบไม้ร่วง

การถ่ายภาพภูมิทัศน์ต้องอาศัยการจัดองค์ประกอบภาพในระดับที่เทียบเท่ากับการถ่ายภาพนิ่งเป็นอย่างน้อย แต่จะต่างกันตรงที่คุณต้องเป็นคนขยับไปมาแทนตัวแบบ คุณสามารถจัดเรียงองค์ประกอบในภาพถ่ายได้หลากหลายวิธีเพื่อให้ภาพมีลักษณะตามที่ต้องการ แต่หัวใจสำคัญคือการใช้เวลาพิจารณาสภาพแวดล้อมโดยรอบ รวมถึงการเตรียมตัวให้พร้อมเดินไปรอบๆ บริเวณ

 

จัดองค์ประกอบในฉาก

เบื้องหน้าของคุณคือภาพทิวทัศน์อันตระการตา แต่คุณเพิ่งถ่ายรูปไป และความงดงามที่คุณมองเห็นผ่านสายตากลับไม่ปรากฏในภาพบนหน้าจอกล้องของคุณเลยสักนิด หากต้องการตรวจสอบว่ามีอะไรผิดพลาดไป อย่างแรกคือคุณต้องตรวจสอบองค์ประกอบภาพของคุณ ทุกอย่างรอบตัวคุณล้วนเป็นภาพภูมิทัศน์ แต่ถึงจะอย่างนั้นคุณก็ยังจำเป็นต้องกำหนดเฟรมภาพถ่ายของคุณ

ภาพถ่ายภูมิทัศน์ของเนินเขาเขียวชอุ่มในป่าเขตร้อน
ภาพถ่ายภูมิทัศน์ของประภาคารที่ปลายถนนเก่าๆ

ช่างถ่ายภาพงานแต่งงานอย่าง Naba Zabih ที่มักจะถ่ายภาพในสภาพภูมิทัศน์ที่ชวนตะลึงเล่าว่า การถ่ายภาพภูมิทัศน์นั้น “เหมือนเกมตัวต่อ” เธออธิบายว่า “คุณสามารถถ่ายภาพให้สมดุลกันได้ หากภูเขามีรูปทรงเป็นสามเหลี่ยม คุณก็อาจสร้างสมดุลให้กับภาพได้โดยใช้องค์ประกอบที่มีรูปทรงกลมๆ ที่ด้านข้าง ทิวทัศน์จะงดงามแค่ไหนก็จะไม่สำคัญเลยหากคุณไม่สามารถมองภาพโดยกฎทางคณิตศาสตร์แล้วแยกส่วนต่างๆ ออกจากกันได้”

 

อีกทั้งยังไม่มีเหตุผลให้ต้องรีบร้อน Jeff Carlson ซึ่งเป็นช่างถ่ายภาพภูมิทัศน์มากประสบการณ์แนะนำว่า “ในแง่หนึ่ง การถ่ายภาพภูมิทัศน์ก็อาจเป็นเรื่องง่ายๆ เพราะตัวแบบไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปมากนัก ต้นไม้ที่คุณถ่ายจะไม่หนีคุณลงเขาไปไหน คุณจึงสามารถตั้งใจกำหนดเฟรมและองค์ประกอบภาพได้มากกว่าปกติเล็กน้อย” ซึ่งเขาให้เคล็ดลับว่า คุณควรสังเกตดูองค์ประกอบที่มีรูปทรงขนาดใหญ่ เส้นต่างๆ ที่คมชัด แล้วเลือกจุดโฟกัสของคุณ โดย Zabih ย้ำกับช่างถ่ายภาพภูมิทัศน์มือใหม่ว่า “แม้แต่ในทิวทัศน์ก็ยังมีตัวแบบที่คุณควรโฟกัสอยู่ ถ้าคุณกำลังถ่ายภาพภูเขา คุณก็ไม่ควรโฟกัสที่พื้นหญ้าอะไรไม่รู้ข้างๆ เพราะจุดโฟกัสคือจุดที่จะดึงดูดสายตาของผู้ที่รับชมภาพ”

ภาพถ่ายภูมิทัศน์ของทิวเขาที่อยู่ห่างออกไปใต้เงามืด

เคล็ดลับสั้นๆ ข้อหนึ่งสำหรับการถ่ายภาพภูมิทัศน์คือ คุณควรพิจารณาถ่ายภาพให้มีองค์ประกอบซ้อนกันเป็นชั้นๆ ในด้านหน้าเพื่อสร้างจุดโฟกัส และเพื่อป้องกันไม่ได้ภาพดูไร้มิติ Samuel Nute ซึ่งเป็นช่างภาพแถบแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือแนะนำว่า “ถ้าคุณกำลังถ่ายภาพทิวเขา คุณควรถ่ายภาพให้มีองค์ประกอบหลากหลายสีตัดกันซ้อนไว้หลายๆ ชั้น เพื่อให้ภาพดูมีความลึกและดูมีชีวิตชีวามากกว่าภาพถ่ายทิวเขาเรียบๆ ไร้มิติ” ช่างถ่ายภาพงานแต่งงานและภาพภูมิทัศน์อย่าง Kilen Murphy มักจะถามตัวเองอยู่บ่อยๆ ว่า “เฟรมนี้ดีที่สุดเท่าที่จะดีได้แล้วใช่ไหม หรือยังมีองค์ประกอบอะไรที่สามารถเพิ่มลงไปได้เพื่อให้ภาพดูน่าสนใจกว่าเดิม” และเมื่อคุณถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิทัล คุณก็ยิ่งควรหยุดถ่ายเป็นพักๆ เพื่อตรวจสอบดูรูประหว่างที่ถ่ายภาพ

 

คุณสามารถถ่ายภาพให้มีองค์ประกอซ้อนกันชั้นๆ ในภาพได้หลายวิธี ซึ่ง Carlson แนะนำว่า “ที่พื้นอาจมีแอ่งน้ำหลงเหลืออยู่จากฝนที่ตกในคืนก่อน ถ้าคุณย่อตัวลงต่ำๆ เข้าไปใกล้กับแอ่งน้ำนั้น คุณจะเห็นภาพภูเขาจะสะท้อนลงบนแอ่งน้ำอย่างงดงาม คุณมีโอกาสมากมายในลักษณะที่แตกต่างกันไปในการตั้งกล้องต่ำๆ ติดพื้น ยกกล้องขึ้นสูง และหาทางถ่ายภาพในมุมต่างๆ แม้ว่าฉากตรงหน้าจะแทบไม่เปลี่ยนไปเลยก็ตาม”

 

“ลองถ่ายภาพให้แตกต่างกันไปและสำรวจตัวเลือกของคุณ”

 

แล้วก็เช่นเดียวกัน คุณควรใช้ประโยชน์จากเส้นนำสายตาใดๆ ที่มีอยู่เพื่อเน้นทั้งความลึกและโฟกัสในภาพถ่ายของคุณ โดย Nute แนะนำให้ใช้องค์ประกอบต่างๆ อย่างเช่น รั้ว แนวต้นไม้ หรือแม่น้ำ เพื่อดึงดูดสายตาของผู้ที่รับชมภาพไปยังจุดโฟกัส ลองหาเส้นนำสายตาเหล่านี้โดยการเดินสำรวจรอบๆ บริเวณ แล้วดูว่าคุณเจอตำแหน่งในที่สูงหรือมุมต่ำๆ ที่จะเอื้อให้คุณถ่ายภาพความงดงามที่คุณกำลังสัมผัสอยู่ได้มากยิ่งขึ้นหรือไม่ เป็นต้น นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้กฎสามส่วนเพื่อสร้างความสมดุลในเฟรมภาพของคุณได้อีกด้วย

ภาพถ่ายภูมิทัศน์อันงดงามของท่าเรือที่ทอดยาวออกไปสู่ขอบฟ้า

แสงนี่สิคือปัจจัยที่ไม่แน่นอนอย่างแท้จริง

อย่างหนึ่งที่ขยับสับเปลี่ยนระหว่างที่คุณกำลังถ่ายภาพภูมิทัศน์คือแสง เมื่อพิจารณาระหว่างสภาพอากาศและตำแหน่งของดวงอาทิตย์ที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ คุณจึงควรไตร่ตรองอย่างรอบครอบเกี่ยวกับช่วงเวลาของวันที่คุณจะถ่ายภาพ รวมถึงภาพที่คุณเตรียมตัวเพื่อถ่าย โดยมีแอปต่างๆ ที่มีประโยชน์อยู่มากมายที่สามารถช่วยให้คุณวางแผนได้ แต่เมื่อคุณเดินทางออกไปถ่ายภาพแล้ว คุณจะต้องพร้อมรับมือกับสถานการณ์ใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อม

 

Carlson กล่าวว่า “สุดยอดคำแนะนำที่บางทีก็ทำตามได้ยากที่สุดคือ ถ้าคุณต้องการถ่ายภาพภูมิทัศน์ คุณต้องไปถ่ายภาพในสถานที่นั้นๆ ในช่วงเวลาที่มีแสงเหมาะสม ซึ่งฟังดูเหมือนอะไรที่ไม่ต้องบอกก็รู้กันอยู่แล้ว แต่การทำตามคำแนะนำนี้อาจหมายความว่าคุณต้องตื่นมาตอนตีสี่ ขับรถไปยังสถานที่ถ่ายภาพ จัดเตรียมอุปกรณ์ในความมืด แล้วรอให้ถึงเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้น เนื่องจากช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกมักจะเป็นเวลาที่มีแสงงดงามและน่าสนใจที่สุด”

 

“เมื่อคุณถ่ายภาพภูมิทัศน์” Carlson แนะนำ “คุณควรพยายามถ่ายภาพที่ไม่ใช่เพียงภาพภูเขาธรรมดาๆ ในการถ่ายภาพที่ยอดเยี่ยม คุณต้องคอยสังเกตว่าสภาพอากาศจะส่งผลต่อภาพอย่างไร แสงแดดก่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างไร ผู้คนเรียกช่วงเช้าตรู่และช่วงพลบค่ำว่าช่วงเวลา Golden Hour เพราะแสงส่องลงมาในลักษณะที่ทำมุมมากกว่าส่องลงมาตรงๆ หากคุณถ่ายภาพขณะที่มีเมฆลอยสูง แสงจะส่องสว่างจากด้านล่าง ซึ่งก่อให้เกิดสีสวยๆ มากมาย อย่างเช่น เส้นสีม่วง สีส้ม และสีแดง ซึ่งจะช่วยให้ภาพถ่ายภูมิทัศน์ดูโดดเด่นขึ้นมา แน่นอนว่าคุณสามารถถ่ายภาพสวยๆ ในช่วงเที่ยงวันได้ด้วย แต่เมื่อคุณถ่ายภาพภูมิทัศน์ที่ดูน่าตะลึง คุณย่อมอยากถ่ายภาพให้ออกมาดูตระการตา”

ภาพถ่ายภูมิทัศน์ของหุบเขาในป่าที่นำไปสู่แนวเขาที่อยู่ห่างออกไปภายใต้แสงอาทิตย์
ใช้เทคนิคการถ่ายภาพภูมิทัศน์เพื่อถ่ายภาพตัวแบบบนเนินเขาที่อยู่ห่างออกไป
ภาพถ่ายภูมิทัศน์อันงดงามของพระอาทิตย์ที่เคลื่อนขึ้นเหนือท้องทะเลทรายสูง

หมายเหตุเกี่ยวกับเลนส์และสถานที่

Derek Boyd ซึ่งเป็นช่างภาพในพอร์ตแลนด์มีคำแนะนำเกี่ยวกับเลนส์ที่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพภูมิทัศน์มากที่สุด ซึ่งเขาระบุว่า “ช่างภาพส่วนมากมักจะแนะนำให้มือสมัครเล่นเริ่มถ่ายภาพด้วยเลนส์ 35 มม. หรือ 50 มม. และสำหรับช่างภาพที่ต้องการถ่ายภาพภูมิทัศน์ เลนส์ 35 มม. ถือเป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยม” เขาอธิบายเพิ่มอย่างเจาะจงมากขึ้นว่า “คุณจะมีความยาวโฟกัสที่กว้าง เลนส์ 30 มม. ลงไปล้วนมีความยาวโฟกัสกว้างๆ ทั้งนั้น” เลนส์เหล่านี้จะช่วยให้คุณสามารถโฟกัสระยะลึกๆ ในฉากขนาดใหญ่ได้ แต่เลนส์ประเภทนี้อาจบิดเบือนภาพที่ถ่ายในระยะใกล้ ซึ่ง Boyd อธิบายว่า “ถ้าคุณถ่ายภาพใครสักคนในระยะใกล้ด้วยเลนส์กว้าง เลนส์จะทำให้ศีรษะของตัวแบบดูใหญ่โตโดยที่ทุกอย่างในพื้นหลังดูเล็กนิดเดียว ซึ่งแทบจะเหมือนเอฟเฟกต์ Fisheye ภาพของคุณจะมีระยะชัดลึกที่ไม่ตื้นเท่าไหร่นักเมื่อคุณใช้เลนส์กว้างๆ ถ่าย” โดย Carlson ระบุว่าแม้จะมีข้อจำกัดเหล่านี้ คุณก็ควรใช้เลนส์ Wide-Angle หากคุณต้องการถ่ายภาพทิวทัศน์อันกว้างใหญ่ไพศาล “เริ่มถ่ายภาพด้วยเลนส์ 18 มม. หรือ 12 มม. หรืออาจจะใช้เลนส์ 8 มม. ไปเลย” เขาแนะนำ “แล้วคุณจะถ่ายภาพได้กว้างขวางมากขึ้น”

ภาพถ่ายภูเขาที่ตั้งอยู่เหนือหมู่บ้านริมชายฝั่ง

เมื่อคุณออกไปถ่ายภาพภูมิทัศน์ คุณอาจต้องการพกอุปกรณ์เสริมเผื่อไปด้วย ซึ่ง Carlson แนะนำให้ใช้ขาตั้งกล้อง เพื่อให้คุณสามารถพลิกแพลงความเร็วชัตเตอร์ในการถ่ายภาพ Long Exposure หรือถ่ายภาพโดยใช้ค่ารูรับแสงสูงๆ ได้ เขาระบุเพิ่มว่า “คุณย่อมต้องการให้ภาพออกมาคมชัด โดยให้ทิวเขาที่อยู่ห่างออกไปหลายไมล์อยู่ในโฟกัส ดังนั้นคุณจึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เพื่อช่วยยึดให้กล้องของคุณไม่สั่น” ก่อนที่คุณจะออกเดินทาง คุณควรเตรียมเลนส์เสริมที่คุณอาจต้องใช้ เตรียมขาตั้งกล้องในกรณีที่อยากถ่ายภาพ Long Exposure และเตรียมอุปกรณ์ปกป้องตัวเอง (และอุปกรณ์ของคุณ เช่น กระเป๋ากล้องดีๆ ก็ถือเป็นตัวเลือกที่ไม่เลว) จากสภาพอากาศ

 

ท้ายที่สุดนี้ ลองพิจารณาเกี่ยวกับปลายทางที่คุณมุ่งหน้าไปถ่ายภาพ รวมถึงตำแหน่งที่คุณเลือกตั้งกล้อง ซึ่ง Nute แนะนำให้ช่างภาพพยายามหาตำแหน่งที่ยังไม่ค่อยมีคนไปสำรวจมากนัก ซึ่งสามารถทำได้ โดยการตื่นตัวและเตรียมพร้อมอยู่เสมอ ตัวเขาเองก็พกกล้องไปด้วยทุกครั้งที่เดินป่า “แน่นอนว่าทั่วโลกมีสถานที่สวยๆ อย่างไร้ข้อกังขาให้ทุกคนเดินทางไปถ่ายภาพภูมิทัศน์ได้” เขาอธิบาย “แต่นี่คือการค้นหามุมที่ไม่ซ้ำใครในจุดชมวิวหรือสถานที่ยอดนิยม แล้วใช้ตำแหน่งที่ค้นพบให้เกิดประโยชน์ต่อตัวคุณ คุณควรค้นหาสไตล์ในแบบของคุณเองให้พบ รวมถึงพยายามเสาะหาจุดถ่ายภาพที่คนอื่นยังไม่ค้นพบ เพื่อถ่ายภาพอันเป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร”

 

โลกข้างนอกกว้างขวางสุดลูกหูลูกตา เพียงพกกล้องติดตัว แล้วใช้สายตาอันเฉียบคมของคุณสอดส่องดูว่าจะถ่ายภาพซอกมุมอันงดงามที่ซ่อนอยู่บนโลกใบนี้ได้อย่างไร

ผู้มีส่วนร่วม

ทำสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้นด้วย Adobe Photoshop Lightroom

แก้ไขรูปภาพอย่างง่ายดายด้วย Preset ของ Lightroom อย่างSuper Resolution แชร์ภาพถ่ายอย่างง่ายดายจากทุกอุปกรณ์ และเข้าถึงโปรเจกต์ต่างๆ ของคุณได้ทุกที่ด้วยการจัดการพื้นที่จัดเก็บภาพถ่ายบนระบบคลาวด์

และคุณอาจสนใจ...

นักเต้นบัลเลต์ที่กำลังแสดงบนเวที - การถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ | Adobe

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเร็วชัตเตอร์

ค้นพบว่าการปรับความเร็วชัตเตอร์ช่วยให้คุณถ่ายภาพที่ชัดเจนได้หรือจับภาพช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยการเคลื่อนไหวได้อย่างไร

ภาพสุนัขสีขาวที่อยู่ถัดจากแหล่งน้ำ - เคล็ดลับเกี่ยวกับความยาวโฟกัส | Adobe

ทำความเข้าใจความยาวโฟกัส

ค้นพบวิธีเลือกความยาวโฟกัสที่เหมาะสมสำหรับภาพถ่ายแต่ละภาพ

ภาพเมืองญี่ปุ่นยามค่ำคืน - เคล็ดลับการถ่ายภาพกลางคืน | Adobe

การถ่ายภาพกลางคืน
แสงน้อยไม่ได้ทำให้ภาพมีคุณภาพต่ำเสมอไปด้วยเคล็ดลับการถ่ายภาพกลางคืนให้ดูดีเหล่านี้

การชงกาแฟในร้านกาแฟ - เคล็ดลับภาพระยะชัดลึกที่ตื้น | Adobe

ทำความเข้าใจระยะชัดลึกที่ตื้น
สำรวจวิธีที่ระยะชัดลึกที่ตื้นสามารถเพิ่มมิติให้ภาพถ่ายของคุณ

Lightroom

แผน Lightroom

แก้ไข จัดระเบียบ จัดเก็บ และแบ่งปันภาพถ่ายได้จากทุกที่
ใช้งานฟรี 7 วัน จากนั้น ฿380.92/เดือน

Lightroom
Photoshop

การถ่ายภาพ

รับ Lightroom, Lightroom Classic, Photoshop และเนื้อที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์ 20 GB ใช้งานฟรี 7 วัน หลังจากนั้น฿304.95/เดือน.(รวม VAT)

Lightroom

All Apps

รับคอลเลกชันแอปสร้างสรรค์ทั้งหมดและอีกมากมาย
ทดลองใช้ฟรี 7 วัน จากนั้น ฿1,143.83/เดือน (รวม VAT)

ยกระดับภาพถ่ายภูมิทัศน์ของคุณด้วย Adobe Photoshop Lightroom

Lightroom (1TB)
รับ Lightroom บนเดสก์ท็อปและมือถือพร้อมบริการอื่นๆ จาก Creative Cloud ในราคาเพียง

฿380.92/เดือน (รวม VAT)

Lightroom (1TB)
รับ Lightroom บนเดสก์ท็อปและมือถือพร้อมบริการอื่นๆ จาก Creative Cloud ในราคาเพียง

฿380.92/เดือน (รวม VAT)

 Creative Cloud photography (20GB)
รับ Lightroom สำหรับเดสก์ท็อปและมือถือ, Lightroom Classic รวมถึง Photoshop บนเดสก์ท็อปและ iPad

฿380.92/เดือน (รวม VAT)

Creative Cloud photography (20GB)
รับ Lightroom สำหรับเดสก์ท็อปและมือถือ, Lightroom Classic รวมถึง Photoshop บนเดสก์ท็อปและ iPad

฿380.92/เดือน (รวม VAT)

นักเรียนและครู
ประหยัดกว่า 60% สำหรับแอป Creative Cloud กว่า 20 รายการ — รวมถึง Lightroom

฿761.84/เดือน (รวม VAT)

ธุรกิจ
รับ Lightroom และแอป 
Creative Cloud ทั้งหมด รวมถึง ฟีเจอร์ธุรกิจสุดพิเศษ

฿2,211.69/เดือน (รวม VAT)

ธุรกิจ

รับ Lightroom และแอป 
Creative Cloud ทั้งหมด รวมถึง ฟีเจอร์ธุรกิจสุดพิเศษ

฿2,211.69/เดือน (รวม VAT)