ปรับภาพถ่ายให้คมชัดและปรับค่าการเปิดรับแสงอย่างเหมาะสมโดยใช้เครื่องมือ Histogram

เรียนรู้วิธีใช้ Histogram ในกล้องและในซอฟต์แวร์สำหรับการแต่งภาพเพื่อลดนอยส์และเน้นให้รายละเอียดต่างๆ โดดเด่น 

คนกำลังใช้เครื่องมือ Histogram เพื่อแต่งภาพถ่ายภูมิทัศน์

Histogram คืออะไร

Histogram คือกราฟที่วัดความสว่างของรูปภาพโดยแสดงความถี่ของแต่ละโทนสีออกมาเป็นค่าบนแผนภูมิแท่ง แกนแนวนอนเคลื่อนจากสีดำสนิทในด้านซ้ายของ Histogram ผ่านไปยังส่วนเงา ส่วน Midtone และส่วนไฮไลต์เรื่อยไปจนถึงสีขาวที่สว่างที่สุดทางด้านขวา แกนแนวตั้งจะแสดงความถี่หรือความเข้มของแต่ละโทนสี โดยที่จุดสูงสุดแทนความถี่สูงและจุดที่เป็นแอ่งลึกแทนความถี่ต่ำ กล้องดิจิทัลส่วนใหญ่มีทั้ง Histogram ที่แสดงสภาพส่องสว่าง (วัดค่าความสว่างทั้งหมด) และ Histogram ที่แสดงสี (วัดค่าความเข้มของโทนสีแดง โทนสีเขียว และโทนสีน้ำเงิน) Adobe Photoshop Lightroom แสดงทั้งสภาพส่องสว่างและสีภายใน Histogram เดียวกัน

Histogram ในกล้องเป็นประโยชน์ต่อคุณอย่างไร

การตรวจสอบ Histogram บนหน้าจอ LCD ของกล้องดิจิทัล

หากคุณอยู่ระหว่างการถ่ายภาพ คุณจะสามารถตรวจสอบ Histogram บนหน้าจอ LCD ของกล้องหรือในช่องมองภาพได้ โดยให้ทำการปรับค่าต่างๆ หากคุณพบผลลัพธ์ดังต่อไปนี้โดยที่ไม่ได้คาดการณ์เอาไว้

 

เส้นกราฟล้นไปทางด้านซ้ายมือ
หากคุณเห็นว่าโทนสีที่มีความถี่สูงหรือจุดสูงสุดล้นไปทางซ้ายมือของ Histogram นั่นหมายความว่าส่วนสีดำของคุณกำลังถูกตัดทิ้งออกไป และกล้องของคุณไม่ได้จับรายละเอียดเงาทั้งหมดอย่างที่ควร ซึ่งอาจเป็นความตั้งใจของคุณในการถ่ายภาพ “Low-Key” แบบนี้ แต่ในกรณีที่ไม่ใช่ความตั้งใจ คุณสามารถปรับให้แสงผ่านเข้ามามากขึ้นได้โดยลดความเร็วชัตเตอร์ ปรับรูรับแสงให้กว้างขึ้น หรือเพิ่มค่า ISO (ความไวแสง) ของกล้องให้สูงขึ้น การปรับค่าเหล่านี้แต่ละรายการอาจส่งผลให้คุณภาพของภาพลดลง แต่คุณสามารถลองการปรับค่าทั้งสามแบบนิดๆ หน่อยๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์โดยรวมด้านความสว่างและความคมชัดที่คุณต้องการ

 

เส้นกราฟล้นไปทางด้านขวามือ
หากรูปภาพของคุณมีลักษณะเป็นภาพแบบ “High-Key” คุณอาจคาดการณ์ได้ว่าจะมีจุดสูงสุดอยู่ทางด้านขวาของ Histogram แต่หากจุดสูงสุดเหล่านี้ถูกตัดออกไปที่บริเวณขอบด้านขวา รูปภาพมีแสงมากเกินไป ซึ่งหมายความว่ารายละเอียดในส่วนไฮไลต์จะสว่างจ้าจนขาวโพลน ในกรณีเช่นนี้ คุณควรใช้การเปิดรับแสงที่สั้นลง ปรับรูรับแสงให้แคบ หรือลดค่า ISO เพื่อลดปริมาณแสงที่กล้องของคุณถ่าย

 

Histogram กระจุกตัว
หากโทนสีทั้งหมดใน Histogram อัดแน่นอยู่ในบริเวณเดียวและเหลือพื้นที่ว่างจำนวนมากในทั้งสองด้าน อาจหมายความได้ว่า Contrast นั้นต่ำเกินไป หากคุณกำลังถ่ายภาพในสภาพแวดล้อมที่อยู่ภายใต้การควบคุม คุณสามารถเพิ่มแสงเพื่อขับเน้นไฮไลต์และปรับเงาให้เข้มขึ้นได้ แต่หากสภาพแวดล้อมอยู่เหนือการควบคุมของคุณ ลองปรับเฟรมของภาพถ่ายใหม่เพื่อให้เฟรมครอบคลุมองค์ประกอบต่างๆ ที่มี Contrast ตัดกัน หรือวางแผนเพื่อปรับค่า Contrast ในขั้นตอนหลังการถ่ายภาพ

กล้องดิจิทัลสามตัวแสดงให้เห็นตัวอย่างของรูปภาพเดียวกันที่ถ่ายโดยใช้แสงที่ต่างกัน

ถ่ายภาพในรูปแบบไฟล์รอว์เพื่อเพิ่มตัวเลือกในการแต่งภาพ

คุณควรจดจำไว้ว่ารูปทรง Histogram นั้นไม่ได้มีเพียงรูปทรงเดียวที่เหมาะสม เนื่องจากตัวแบบและสภาวะแสงนั้นย่อมแปรผันไปตามสถานการณ์ ดังนั้น Histogram ที่บันทึกข้อมูลเอาไว้ก็จะแปรผันตามไปด้วย หากคุณถ่ายภาพในรูปแบบไฟล์รอว์ที่ไม่ผ่านการบีบอัด ข้อมูลทั้งหมดที่กล้องของคุณถ่ายไว้ได้จะยังคงอยู่อย่างไม่สูญหาย คุณจึงสามารถตัดสินใจในภายหลังระหว่างขั้นตอนหลังการถ่ายภาพได้ว่าจะเก็บอะไรไว้และจะทิ้งอะไรไป ทดลองถ่ายภาพโดยใช้ Histogram เพื่อป้องกันไม่ให้รายละเอียดเงาและไฮไลต์สูญหาย

 

Histogram ช่วยคุณในขั้นตอนหลังการถ่ายภาพได้อย่างไร

คุณสามารถหา Histogram ใน Lightroom ได้จากด้านบนของแผงควบคุมทางขวามือ หากมีการตัดส่วนเงาออกไป สามเหลี่ยมสีเทาที่อยู่บริเวณมุมซ้ายของ Histogram จะกลายเป็นสีขาว คลิกสามเหลี่ยมหรือแตะคีย์ J เพื่อแสดงเงาที่ถูกตัดออกไป แล้วส่วนเงาที่ถูกตัดออกไปจะกลายเป็นสีน้ำเงินเพื่อให้คุณมองเห็นเงาได้ในภาพถ่าย

 

หากมีการตัดส่วนไฮไลต์ออกไป สามเหลี่ยมที่อยู่บริเวณมุมขวาบนของ Histogram จะกลายเป็นสีขาว คลิกสามเหลี่ยมหรือแตะคีย์ J เพื่อดูรายละเอียดของส่วนไฮไลต์ที่หายไป ซึ่งจะปรากฏเป็นสีแดง คุณสามารถปรับค่าการเปิดรับแสงหรือ Contrast ได้ตามที่ต้องการโดยอิงจากผลลัพธ์ที่คุณพบ รูปทรงของ Histogram จะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อคุณเลื่อนแถบเลื่อน นอกจากนี้ คุณยังสามารถคลิกบน Histogram ได้โดยตรง จากนั้นเลื่อนไปทางซ้ายหรือทางขวา แล้วแถบเลื่อนก็จะเลื่อนตามไปด้วย

 

หากความถี่ของ Histogram กระจุกตัวอยู่ตรงกลางทั้งหมดโดยมีพื้นที่ว่างๆ อยู่บริเวณขอบ ภาพถ่ายของคุณอาจจะขาด Contrast ที่ตัดกัน คุณสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการปรับ Midtone ให้เข้มขึ้นและเพิ่ม Dynamic Range ของภาพโดยเลื่อนแถบเลื่อน Contrast ไปทางขวา การปรับแถบเลื่อน Clarity และ Sharpening เพียงเล็กน้อยยังสามารถเพิ่ม Dynamic Range ให้กับภาพถ่ายของคุณได้อีกด้วย

การใช้ Lightroom เพื่อปรับความสว่างของรูปภาพ

Learn how to adjust brightness in Lightroom CC.

Watch this video tutorial for both automatic and manual brightness adjustment.

การใช้คำเตือน Highlight Clipping และ Shadow Clipping ใน Lightroom

ทดลองสร้างสรรค์ภาพโดยใช้คำเตือน Highlight Clipping และ Shadow Clipping ใน Lightroom

ค้นพบทางลัดและเคล็ดลับเพื่อเพิ่ม Dynamic Range ของภาพถ่ายในวิดีโอสั้นๆ โดย Julieanne Kost ซึ่งเป็น Principal Evangelist ของ Adobe สำหรับ Photoshop และ Lightroom

ตรวจสอบ Histogram ก่อนพิมพ์ภาพเสมอ

ภาพถ่ายของคุณอาจดูสมบูรณ์แบบเมื่ออยู่บนหน้าจอ แต่เมื่อคุณพิมพ์ภาพออกมา คุณอาจพบว่าคุณได้ตัดเงาสีดำและไฮไลต์สีขาวในภาพออกไปเสียแล้ว ช่างภาพสามารถใช้เงาสีดำสนิทให้เกิดประโยชน์ได้มากมาย แต่ไฮไลต์ที่สว่างจ้าจนขาวโพลนอาจกลายเป็นสิ่งที่กวนใจได้เป็นพิเศษเนื่องจากพื้นที่ว่างๆ บนกระดาษย่อมดึงดูดให้เคลื่อนสายตาไปมอง “ฉันบอกนักเรียนของฉันว่า ถ้าจะพิมพ์ภาพออกมา ให้ตรวจสอบ Histogram ก่อนเสมอ” ช่างภาพและอาจารย์ Tina Tryforos กล่าว “จากนั้นให้ปรับแถบเลื่อนด้านขวาและด้านซ้ายเพื่อให้แน่ใจว่าภาพที่จะพิมพ์นั้นมีโทนสีครบถ้วนแล้ว”

 

หากคุณพิมพ์ภาพแล้วสีของภาพถ่ายดูแตกต่างจากสิ่งที่คาดการณ์เอาไว้อย่างมาก คุณอาจต้องปรับเทียบมาตรฐานสีของหน้าจอแสดงผล เครื่อง Mac และ Windows มีเครื่องมือปรับเทียบมาตรฐานสีมาให้ แต่การปรับเทียบมาตรฐานสีที่แม่นยำอย่างแน่แท้ต้องดำเนินการโดยใช้เครื่องวัดสี เครื่องมือเหล่านี้จะวัดสีของหน้าจอของคุณโดยเทียบกับมาตรฐานสีในอุตสาหกรรมและจะสร้างโปรไฟล์สีเฉพาะสำหรับหน้าจอแสดงผลขึ้นมา

 

โปรไฟล์สีที่แม่นยำตลอดจน Histogram ที่สมดุลกันจะช่วยให้คุณสามารถจับ Dynamic Range ของภาพได้อย่างครบถ้วน คุณจะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดเรื่องเหนือความคาดหมายที่ชวนให้หัวเสียเมื่อคุณพิมพ์ภาพ รวมทั้งวางใจได้ว่าภาพของคุณมีรายละเอียดเงาและไฮไลต์ครบถ้วนเมื่อคุณแชร์ภาพบนโลกออนไลน์ และการใช้ Histogram เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการถ่ายภาพของคุณก็จะช่วยให้คุณถ่ายภาพได้ดีกว่าเดิมก่อนที่คุณจะเริ่มแต่งภาพเสียอีก

ผู้มีส่วนร่วม

ทำสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้นด้วย Adobe Photoshop Lightroom

แก้ไขรูปภาพอย่างง่ายดายด้วย Preset ของ Lightroom อย่างSuper Resolution แชร์ภาพถ่ายอย่างง่ายดายจากทุกอุปกรณ์ และเข้าถึงโปรเจกต์ต่างๆ ของคุณได้ทุกที่ด้วยการจัดการพื้นที่จัดเก็บภาพถ่ายบนระบบคลาวด์

และคุณอาจสนใจ...

landscape-photography

สร้างภาพทิวทัศน์ที่ยอดเยี่ยม
สำรวจวิธีถ่ายภาพทิวทัศน์ที่สวยงามอย่างมีศิลปะพร้อมเคล็ดลับในการถ่ายภาพทิวทัศน์

นักเต้นบัลเลต์ที่กำลังแสดงบนเวที - การถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ | Adobe

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเร็วชัตเตอร์

ค้นพบว่าการปรับความเร็วชัตเตอร์ช่วยให้คุณถ่ายภาพที่ชัดเจนได้หรือจับภาพช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยการเคลื่อนไหวได้อย่างไร

ภาพเมืองญี่ปุ่นยามค่ำคืน - เคล็ดลับการถ่ายภาพกลางคืน | Adobe

การถ่ายภาพกลางคืน
แสงน้อยไม่ได้ทำให้ภาพมีคุณภาพต่ำเสมอไปด้วยเคล็ดลับการถ่ายภาพกลางคืนให้ดูดีเหล่านี้

ภาพถ่ายบุคคลรูปผู้หญิงมีกระบนฉากหลังสีดำ

สร้างสรรค์ภาพถ่ายบุคคลที่ยอดเยี่ยม

เข้าใกล้ภาพถ่ายบุคคลที่สมบูรณ์แบบมากขึ้นด้วยเคล็ดลับและคำแนะนำจากช่างภาพมืออาชีพ

Lightroom

แผน Lightroom

แก้ไข จัดระเบียบ จัดเก็บ และแบ่งปันภาพถ่ายได้จากทุกที่
ใช้งานฟรี 7 วัน จากนั้น ฿380.92/เดือน

Lightroom
Photoshop

การถ่ายภาพ

รับ Lightroom, Lightroom Classic, Photoshop และเนื้อที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์ 20 GB ใช้งานฟรี 7 วัน หลังจากนั้น฿304.95/เดือน.(รวม VAT)

Lightroom

All Apps

รับคอลเลกชันแอปสร้างสรรค์ทั้งหมดและอีกมากมาย
ทดลองใช้ฟรี 7 วัน จากนั้น ฿1,143.83/เดือน (รวม VAT)