เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาและเทคนิคของการถ่ายภาพสี

เรียนรู้เกี่ยวกับต้นกำเนิดของภาพสีและค้นพบวิธีต่างๆ ในการถ่ายทอดสีสันออกมาในการถ่ายภาพดิจิทัล

ภาพสีของจานที่มีไอศกรีมแท่งวางอยู่ด้านบน ซึ่งเรียงกันอย่างเป็นระเบียบอยู่บนโต๊ะ

โลกเต็มไปด้วยสีสัน

ภาพถ่ายในยุคแรกๆ นั้นเป็นภาพขาวดำและการถ่ายภาพขาวดำก็ยังคงเป็นสื่อสำคัญในการสำรวจแสง พื้นผิว และองค์ประกอบภาพอยู่ แต่ปัจจุบันนี้ การถ่ายภาพดิจิทัลตั้งต้นมีวัตถุประสงค์เพื่อจำลองสีที่สายตามองเห็นในทุกเฉดสี

 

ช่างภาพ Nicole Morrison อธิบายว่า “การถ่ายภาพสีคือการสร้างสรรค์ภาพถ่ายที่ดูเหมือนจริงมากกว่า” คุณสามารถใช้การถ่ายภาพสีในการเล่นกับสีสันต่างๆ ในภาพสีเพื่อเพิ่มอารมณ์หรือความรู้สึกได้อีกด้วย และเครื่องมือแต่งภาพแบบดิจิทัลก็สามารถช่วยให้ภาพถ่ายของคุณมีสีสันตามที่คุณต้องการได้ “ภาพทุกภาพที่ฉันมองดูแล้วรู้สึกดี” Morrison เล่า “ภาพทุกภาพที่ฉันมองแล้วรู้สึกตื่นเต้น ล้วนแล้วเป็นภาพที่มีสีสันฉูดฉาด” 

 

ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของการถ่ายภาพสี

นับตั้งแต่การถ่ายภาพฟิล์มสีขาวดำกลายเป็นการเดินทางอย่างยาวนานสู่ภาพถ่ายสีสันเจิดจ้าอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน ก่อนหน้าที่จะมีกล้องดิจิทัล ช่างภาพยุคแรกเริ่มถ่ายภาพขาวดำตั้งแต่ช่วงกลางยุค 1830 ภาพถ่ายเหล่านี้ที่เรียกว่า Daguerreotype เป็นการดำเนินการบนแผ่นโลหะขัดเงาโดยใช้กระบวนการถ่ายภาพที่มีเวลาการเปิดรับแสงนานอย่างยิ่งและใช้สารเคมีที่ไวต่อแสง การถ่ายภาพขาวดำมีวิวัฒนาการและยังคงได้รับความนิยมตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง 

 

มีการคิดค้นการถ่ายภาพสีขึ้นมาเมื่อใด

Thomas Sutton สร้างภาพถ่ายสีภาพแรกขึ้นมาในปี 1861 สำหรับการสร้างสรรค์ภาพถ่ายริบบิ้นลายทาร์ทันอันโด่งดังนี้ Sutton ใช้วิธีสามสี (Three-Color Method) ที่คิดค้นขึ้นมาโดยนักฟิสิกส์ James Clerk Maxwell ผู้ค้นพบว่าเราสามารถสร้างภาพที่มองเห็นได้ทุกสีด้วยกระบวนการหลายขั้นตอนอันประกอบด้วยการถ่ายภาพหลายๆ ภาพผ่านจานแก้วสามสี ได้แก่ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน Louis Ducos du Hauron ใช้เทคนิคคล้ายๆ กันสร้างสรรค์ภาพถ่ายภูมิทัศน์ฝรั่งเศสตอนใต้ในปี 1877 ซึ่งเป็นภาพสีอันโด่งดังที่ชื่อว่า View of Agen 

 

Autochrome Lumière ที่สร้างสรรค์ขึ้นมาโดย Auguste และ Louis Lumière ในช่วงต้นยุค 1900 เป็นอีกเทคนิคในการถ่ายภาพสีที่ใช้การเปิดรับแสงนาน ซึ่งใช้ “แผ่นออโตโครม” ที่เคลือบด้วยผงแป้งจุดเล็กๆ หลายสี แทนที่จะใช้เพียงสีเดียว แต่วิธีที่ใช้แผ่นนั้นเป็นกระบวนการอันซับซ้อนและยาวนานที่ให้ผลลัพธ์ไม่ตรงตามที่คาดหวังนัก จนกระทั่งในปี 1908 ที่ Gabriel Jonas Lippmann ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์สำหรับวิธีของเขาในการสร้างภาพถ่ายที่มีสีภายในขั้นตอนเดียวโดยใช้การเคลือบฟิล์มที่ไวต่อสีหรืออีมัลชันบนแผ่นกระจก

 

จากกระบวนการที่กินเวลานานสู่ Time Magazine

ท้ายที่สุดแล้ว อีมัลชันเคมีของ Lippman ก็ถูกแทนที่ด้วยฟิล์มสีประเภทที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุด ซึ่งใช้อีมัลชันที่ไวต่อแสงด้วยเช่นกัน ชายผู้ชื่อ Leopold ทั้งสองคนซึ่งก็คือ Leopold Mannes และ Leopold Godowsky ได้คิดค้นฟิล์มสีสไตล์ “Tripack” ขึ้นมาในปี 1935 และกลายเป็นที่นิยมหลังจากบริษัทต่างๆ อย่าง Kodak และ Polaroid นำไปใช้งาน อย่างไรก็ตาม แม้หลังจากที่ร้านค้าต่างๆ จะเริ่มจำหน่ายฟิล์มสี Kodachrome ของ Kodak แล้ว แต่ก็ยังกินเวลาอีกถึงสองสามทศวรรษกว่าการถ่ายภาพสีจะเริ่มได้รับความนิยม ภาพสีเคยถูกมองว่าเป็นลูกเล่นในงานเลี้ยงมากกว่าจะเป็นงานวิจิตรศิลป์ จนกระทั่งช่างภาพอย่าง William Eggleston ได้รับการยอมรับในปี 1970 ผ่านการจัดแสดงผลงานในแกลเลอรีและสื่อสิ่งพิมพ์ที่ได้รับความเชื่อถือ

ภาพถ่ายทางอากาศที่เป็นภาพสีของ Monument Valley
ภาพสีของใบพืชสีเขียวในระยะใกล้
ผนังสำนักงานที่ตกแต่งอย่างมีสีสันสดใส
ภาพกลางคืนของก้อนหินใน Monument Valley

เคล็ดลับสำหรับการถ่ายภาพสี

กล้องดิจิทัลสมัยใหม่ช่วยให้ถ่ายภาพโลกตรงหน้าในสีสันที่มีชีวิตชีวากว่าที่เคย คุณสามารถถ่ายภาพและแก้ไขสีในรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างเอฟเฟกต์ที่ไม่เหมือนใคร ลองใช้วิธีต่อไปนี้เพื่อถ่ายภาพสีออกมาให้ดูดีที่สุด

 

ถ่ายภาพในรูปแบบไฟล์ RAW

ถ่ายภาพโดยตั้งค่ากล้องเป็นโหมดไฟล์ RAW ซึ่งจะบันทึกข้อมูลทั้งหมดที่เซนเซอร์จับได้ ซึ่งต่างจากไฟล์ JPEG ที่จะบีบอัดข้อมูลดังกล่าว ไฟล์รูปแบบนี้จะช่วยให้คุณมีข้อมูลมากขึ้นในการทำงาน โดย Morrison อธิบายว่า “ยิ่งกับการถ่ายภาพสี คุณย่อมต้องการมีข้อมูลมากที่สุดให้ปรับเปลี่ยนและพลิกแพลง”

 

ใช้สีสันอย่างมีชั้นเชิง

“สีสันสะดุดตาเป็นสิ่งที่ดึงดูดสายตาผู้คน ดังนั้นให้ใช้ปัจจัยดังกล่าวอย่างมีชั้นเชิง” ช่างภาพและนักเขียนอย่าง Jeff Carlson กล่าว “ลองใช้สีสันเพียงเล็กน้อยเพื่อเพิ่มความโดดเด่น แต่อย่าใช้สีมากมายเสียจนไม่รู้จะโฟกัสสายตาที่จุดใด”

 

เลือกชุดสีด้วยวงล้อสี

Morrison แนะนำว่า “ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าจะเริ่มจากจุดไหนหรือไม่มั่นใจว่าตัวเองสามารถเลือกสีที่เข้ากันดีได้ ให้เริ่มจากการใช้วงล้อสี” สำรวจและสร้างสรรค์จานสีต่างๆ อย่างง่ายดายโดยใช้ Adobe Color

 

ลองถ่ายภาพบุคคลกลางแจ้งที่มีสีสันเจิดจ้า

หาฉากหลังสีสันฉูดฉาดเพื่อถ่ายภาพในละแวกใกล้ตัวคุณ แล้วให้ตัวแบบของคุณสวมใส่ชุดที่เข้ากัน Morrison เล่าว่า “ฉันทำแผนที่ใน Google ที่ชื่อว่า ‘แหล่งสีสัน’ และปักหมุดไว้ให้ตัวเองย้อนกลับมาดูทีหลัง” 

 

เพิ่มสีสันให้กับภาพถ่ายอาหารและภาพนิ่ง

ถ่ายภาพสิ่งของบนพื้นหลังที่มีสีตัดกันหรือพื้นหลังที่มีโทนสีใกล้เคียงกัน “ฉันไปที่ร้านขายอุปกรณ์ศิลปะแล้วซื้อกระดาษสีต่างๆ มา” Morrison กล่าว “จากนั้นก็เริ่มถ่ายภาพสิ่งต่างๆ บนกระดาษเหล่านั้นเพื่อดูว่าตัวเองชอบแบบไหน”

พ่อลูกกำลังวาดภาพสีสันสดใสบนผนังกำแพง

เครื่องมือแก้ไขสีใน Adobe Photoshop Lightroom

หมดยุคที่ต้องดำเนินการตามขั้นตอนซับซ้อนเพื่อสร้างภาพพิมพ์สีแล้ว เครื่องมือแต่งภาพถ่ายแบบดิจิทัลขั้นสูงใน Lightroom มาพร้อมกับวิธีมากมายในการปรับสีให้สมบูรณ์แบบ

 

การตั้งค่าสมดุลสีขาว

กำจัดสีเพี้ยนที่เกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่น แสงสีฟ้า และปรับให้ทุกๆ สีในภาพถ่ายของคุณดูสมจริงมากขึ้นในทันทีโดยการปรับสมดุลสีขาว “ฟังก์ชันปรับสมดุลสีขาวอัตโนมัติในกล้องจะปรับสิ่งต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมในเกือบทุกครั้ง” Carlson อธิบาย “แต่คุณก็สามารถปรับเปลี่ยนการตั้งค่าตามที่ต้องการเพื่อสร้างอารมณ์โทนอบอุ่นหรือโทนเย็นได้ด้วยเช่นกัน”

 

การแก้ไข Tint และสิ่งอื่นๆ ด้วยแถบเลื่อนสี

ที่ด้านล่างส่วน Color ในแผง Edit ใน Lightroom คุณสามารถปรับแถบเลื่อนเพื่อเปลี่ยน Temperature (โทนเย็นไปถึงโทนอุ่น), Tint (สีเขียวไปถึงสีมาเจนตา), Saturation (ความเข้มของสี) และ Vibrance (ความเข้มของสีเอิร์ธโทน ซึ่งคงไว้ซึ่งโทนสีผิว)

 

สีสัน ความเข้ม และความส่องสว่าง

คลิกที่ไอคอนวงล้อสีด้านขวามือของเมนูดรอปดาวน์ของ Color ในแผง Edit เพื่อเปิด HSL (แผง Hue, Saturation และ Luminance) คุณสามารถปรับเปลี่ยน Hue, Saturation (ความเข้ม) และ Luminance (ความสว่าง) ของแปดสีหลักในรูปภาพของคุณได้จากที่นี่

 

ตัวอย่างเช่น หากคุณถ่ายภาพคนนั่งอยู่บนพื้นหญ้า สีเขียวของหญ้าก็อาจสะท้อนบนสีผิวของบุคคลนั้น ลดความเข้มของสีเหลืองและสีเขียวลงเล็กน้อยในแผง HSL เพื่อปรับโทนสีให้เหมาะสม หากไม่แน่ใจว่าต้องคลิกเลือกสีใดเพื่อแก้ไขเฉพาะบางบริเวณ ให้คลิกที่ไอคอน Target Adjustment ในหน้าต่าง HSL แล้วเลือกพื้นที่เพื่อปรับจากภาพถ่ายได้โดยตรง 

 

ความเป็นไปได้ที่เปี่ยมไปด้วยสีสัน

“ในการถ่ายภาพสี คุณควรปล่อยใจให้สนุก” Carlson แนะนำ “ออกสำรวจ ค้นหาสถานที่ที่มีสีสัน แล้วคุณจะสามารถถ่ายภาพที่น่ามองออกมาได้เอง” ใช้ Pinterest เพื่อสร้าง Mood Board อันประกอบไปด้วยผลงานสีสันสดใสที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับคุณ รวมถึงพูดคุยกับช่างภาพคนอื่นๆ ที่คุณชื่นชอบผลงาน 

 

เจาะลึกไปกับการแต่งภาพสี

 

 

 

พบกับทุกเครื่องมือที่คุณต้องการในการทำให้ภาพสีของคุณออกมาดูดีที่สุดใน Lightroom และ Photoshop และที่สำคัญที่สุด อย่ากลัวที่จะลองผิดลองถูก “การถ่ายภาพสีก็เหมือนกับการถ่ายภาพทั่วไป คุณจะต้องเรียนรู้กฎต่างๆ จากนั้นก็ต้องตัดสินใจว่าข้อใดควรทำตามต่อไป และข้อใดควรมองข้าม” Morrison อธิบาย

 

ผู้มีส่วนร่วม

ทำสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้นด้วย Adobe Photoshop Lightroom

แก้ไขรูปภาพอย่างง่ายดายด้วย Preset ของ Lightroom อย่างSuper Resolution แชร์ภาพถ่ายอย่างง่ายดายจากทุกอุปกรณ์ และเข้าถึงโปรเจกต์ต่างๆ ของคุณได้ทุกที่ด้วยการจัดการพื้นที่จัดเก็บภาพถ่ายบนระบบคลาวด์

และคุณอาจสนใจ...

ภาพถ่ายขาวดำของเทือกเขาที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการถ่ายภาพขาวดำ

เรียนรู้การใช้ภาพถ่ายขาวดำเพื่อฝึกฝนทักษะการถ่ายภาพและถ่ายภาพได้สมบูรณ์แบบ

องุ่น ส้มฝาน และแก้วใส่น้ำที่วางอยู่บนโต๊ะ

หลักพื้นฐานในการจัดองค์ประกอบในการถ่ายภาพ

องค์ประกอบเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับช่างภาพ เรียนรู้เพิ่มเติมด้วยเคล็ดลับเหล่านี้จากผู้เชี่ยวชาญ

กระท่อมที่มีหิมะปกคลุมซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาที่เต็มไปด้วยหิมะ

ปรับการตั้งค่าสมดุลสีขาวเพื่อปรับปรุงภาพถ่ายให้ดีขึ้น

ทำความเข้าใจสมดุลสีขาวและวิธีการปรับแต่งลักษณะของภาพถ่ายโดยใช้เคล็ดลับเกี่ยวกับสมดุลสี

 

ภาพถ่ายมือที่กำลังถือลูกโป่งซึ่งเป่าพองแบบแบ่งภาพเป็นครึ่งพร้อมแสดงให้เห็นความแตกต่างของสีที่ปรับเปลี่ยน

เปลี่ยนสีในภาพถ่ายของคุณอย่างสร้างสรรค์

ปรับจานสีของรูปภาพโดยการแก้ไขระดับสีสันและความเข้มใน Adobe Photoshop