คู่มือคำศัพท์พื้นฐานเกี่ยวกับการถ่ายภาพ

วงการถ่ายภาพมีศัพท์เฉพาะเป็นของตัวเอง เช่นเดียวกับทุกๆ อุตสาหกรรม คู่มือแนะนำคำศัพท์ทั่วไปเกี่ยวกับการถ่ายภาพสำหรับอุปกรณ์ เทคนิค และกระบวนการต่างๆ นี้จะช่วยให้คุณสามารถดำดิ่งสู่โลกแห่งการถ่ายภาพได้

ภาพคอลลาจอันประกอบไปด้วยภาพที่หลากหลาย

รู้จักคำศัพท์เกี่ยวกับการถ่ายภาพ

หากคุณต้องการก้าวเข้าสู่โลกแห่งการถ่ายภาพระดับมืออาชีพ การมีเพียงสายตาที่เฉียบคมนั้นไม่เพียงพอ การถ่ายภาพเป็นอุตสาหกรรมที่มีคำศัพท์ทางเทคนิคและทางศิลปะ ซึ่งอธิบายแง่มุมต่างๆ เกี่ยวกับคุณภาพของภาพ ชิ้นส่วนในกล้อง เทคนิคการถ่ายภาพและการแต่งภาพ รวมถึงแง่มุมอื่นๆ อีกมากมาย คุณจำเป็นต้องทราบคำศัพท์ที่ถูกต้องในการเรียกอุปกรณ์ เทคนิค และการตั้งค่ากล้องต่างๆ เพื่อสร้างสรรค์ศิลปะภาพถ่ายได้อย่างดีที่สุด

ภาพคอลลาจอันประกอบไปด้วยภาพที่หลากหลาย

คำศัพท์เบื้องต้นเกี่ยวกับการถ่ายภาพ

รูรับแสง: ส่วนประกอบของกล้องที่เปิดรับแสงเข้ามา ค่า F-Stop หรือ F-Number คือหน่วยวัดซึ่งระบุว่ารูรับแสงเปิดหรือปิดมากน้อยเพียงใด

 

ระยะชัดลึก: ความแตกต่างระหว่างวัตถุในโฟกัสที่ใกล้ที่สุดและไกลที่สุดในภาพ ระยะชัดลึกที่ตื้นจะส่งผลให้วัตถุที่อยู่ในระยะค่อนข้างใกล้กับฉากหลังมีลักษณะเบลอ โดยระยะชัดลึกที่ลึกหมายความว่าวัตถุที่อยู่ไกลจากฉากหลังจะยังอยู่ในโฟกัส

 

Dynamic Range: ความแตกต่างระหว่างโทนสีที่มืดและสว่างที่สุดในภาพ ซึ่งเป็นช่วงของความมืดและความสว่างที่กล้องสามารถจับภาพได้ ซึ่งมีน้อยครั้งนักที่สีที่มืดและสว่างที่สุดจะเป็นสีดำล้วนหรือขาวล้วน ปกติแล้วกล้องจะมี Dynamic Range ต่ำกว่าสายตามนุษย์

 

3 ปัจจัยในการเปิดรับแสง: การใช้รูรับแสง ค่า ISO และความเร็วชัตเตอร์ร่วมกัน ซึ่งเป็นตัวกำหนดระยะเวลาและความเข้มของแสงที่ปล่อยผ่านเข้าสู่กล้อง โดยสามารถเปิดรับแสงในระดับต่างๆ ทั้งในภาพฟิล์มและภาพดิจิทัลด้วยการปรับค่าการเปิดรับแสงเหล่านี้

 

ความยาวโฟกัส: ระยะห่าง (ซึ่งมักมีหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตร) ระหว่าง Optical Center ของเลนส์กล้องกับเซนเซอร์กล้อง (ซึ่งบางครั้งเรียกว่าเซนเซอร์ภาพ)

 

F-Stop: ขนาดการเปิดรูรับแสง หรือที่เรียกว่า F-Number โดย F-Number ต่ำๆ หมายถึงรูรับแสงที่เปิดกว้างมากขึ้น ในขณะที่ F-Number สูงๆ หมายความว่ารูรับแสงแคบลง ตัวอย่างเช่น ค่า f/1 ปล่อยแสงผ่านเข้ามามากกว่า f/6

 

ISO: ความไวต่อแสงของกล้องของคุณ ค่า ISO สูงๆ จะมีความไวต่อแสงมากกว่าและโดยปกติแล้วจะส่งผลให้ภาพสว่างยิ่งขึ้น โดยที่ค่า ISO ต่ำๆ มีความไวต่อแสงน้อยกว่า ในอดีตมีการใช้คำนี้เพื่อกล่าวถึงฟิล์ม แต่ปัจจุบันนี้หมายถึงการตั้งค่าของกล้องดิจิทัล ที่มาของชื่อ ISO คือ International Organisation for Standardization ซึ่งเป็นองค์กรในสวิตเซอร์แลนด์ที่ริเริ่มจัดตั้งมาตรฐานต่างๆ สำหรับผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์ ซึ่งรวมถึงกล้องด้วยเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองจบลง

 

ความเร็วชัตเตอร์: ระยะเวลาในการเปิดชัตเตอร์ของกล้องและระยะเวลาที่เซนเซอร์ด้านในเปิดรับแสง โดยจะใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงมากๆ เพื่อถ่ายภาพตัวแบบที่มีการเคลื่อนไหวโดยให้ภาพไม่เบลอ และมักใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆ สำหรับการถ่ายภาพกลางคืนหรือการถ่ายภาพภูมิทัศน์ ซึ่งจะใช้ประโยชน์จากแสงที่ผ่านเข้าสู่กล้องมากขึ้นระหว่างการเปิดชัตเตอร์ค้างไว้เป็นเวลานานกว่าปกติ เป็นต้น

ภาพคอลลาจอันประกอบไปด้วยส่วนประกอบของกล้อง

ประเภทของอุปกรณ์และเครื่องมือถ่ายภาพ

การโฟกัสอัตโนมัติและการโฟกัสแบบแมนนวล: กล้องจะโฟกัสตัวแบบด้วยตัวเองในโหมดโฟกัสอัตโนมัติ โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์กล้องสมัยใหม่สามารถจดจำตัวแบบทั่วๆ ไปอย่างใบหน้าคนได้และจะไม่เบลอส่วนดังกล่าวในภาพ ช่างภาพสามารถควบคุมหรือพลิกแพลงการโฟกัสอัตโนมัติได้ด้วยตัวเองในกรณีส่วนมาก การโฟกัสแบบแมนนวลคือการที่ช่างภาพต้องใช้มือขยับเลนส์ด้วยตัวเองเพื่อให้ตัวแบบไม่เบลอ

 

ตัวกล้อง: ส่วนประกอบหลักของกล้องดิจิตอลที่รวมถึงเซนเซอร์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณถือเพื่อถ่ายรูป โดยปกติแล้วตัวกล้องจะไม่ได้รวมถึงเลนส์ด้วย

 

DSLR: DSLR ย่อมาจาก Digital Single Lens Reflex กล้อง DSLR เป็นการผสานเลนส์ของกล้อง Single Lens Reflex แบบดั้งเดิมเข้ากับเซนเซอร์ดิจิทัล

 

Hot Shoe: จุดเสียบแฟลชหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ บนตัวกล้อง ซึ่งโดยปกติแล้วจะอยู่ที่ด้านบนของกล้อง

 

มาตรวัดแสง: อุปกรณ์ที่ใช้วัดค่าแสงจากแหล่งกำเนิดแสงหรือปริมาณแสงในพื้นที่อย่างแม่นยำ

 

กล้อง Mirrorless: ในทางเทคนิคแล้ว กล้อง DSLR กล้องแบบเล็งแล้วถ่าย และกล้องใน Smartphone ส่วนมากล้วนเป็นกล้อง Mirrorless ทั้งสิ้นเนื่องจากไม่มีกระจกภายในตัวกล้อง แต่กล้อง Mirrorless เป็นศัพท์เฉพาะสำหรับกล้องที่มีเซนเซอร์ซึ่งเปิดรับแสงโดยตรง และช่างภาพจะสามารถดูตัวอย่างภาพได้ตลอดเวลาผ่านช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์

 

กล้องแบบเล็งแล้วถ่าย: กล้องขนาดเล็กที่ออกแบบมาให้ใช้งานง่าย กล้องประเภทนี้มักจะโฟกัสและปรับการเปิดรับแสงโดยอัตโนมัติและมีแฟลชในตัว รวมทั้งไม่จำเป็นต้องอาศัยทักษะมากมายในการใช้ถ่ายภาพให้สำเร็จ ความนิยมของกล้องเหล่านี้ลดน้อยลงเนื่องจากปัจจุบันมีการใช้กล้อง Smartphone อย่างแพร่หลาย

ฝูงวิลเดอบีสต์กระโจนลงแม่น้ำเพื่อข้ามไปอีกฝั่ง
ภาพถ่ายห้องนั่งเล่น

เลนส์ Prime: เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสตายตัว ซึ่งแตกต่างจากเลนส์ซูมที่มีความยาวโฟกัสหลากหลาย โดยบางครั้งเรียกว่าเลนส์ Unifocal

 

กล้อง Single Lens Reflex หรือ SLR: คำศัพท์ที่มักใช้เพื่อกล่าวถึงกล้องก่อนยุคดิจิทัล ซึ่งเป็นกล้องที่มีเลนส์ตัวเดียวที่ขยับอย่างสอดคล้องกับกระจกและเซนเซอร์ กล้องรุ่นเก่าๆ บางรุ่นมีเลนส์สองตัว ซึ่งส่งผลให้ช่างภาพไม่สามารถมองดูได้ชัดๆ ว่ากำลังถ่ายภาพอะไรอยู่ผ่านช่องมองภาพ ช่างภาพที่ใช้กล้อง SLR จะสามารถมองดูคร่าวๆ ว่าภาพที่ถ่ายได้จริงจะดูอย่างไรได้ผ่านช่องมองภาพ

 

เลนส์ Telephoto: เลนส์เฉพาะสำหรับการถ่ายภาพระยะไกลซึ่งช่วยให้ตัวแบบดูอยู่ใกล้กล้องมากขึ้น เลนส์ Telephoto มักมีขนาดใหญ่และความยาวโฟกัสของเลนส์นี้จะสั้นกว่าความยาวของตัวเลนส์จริง ปัจจัยนี้จึงส่งผลให้วัตถุต่างๆ อย่างสัตว์ป่าที่ห่างไกลออกไปดูใกล้กับกล้องมากขึ้นอย่างยิ่ง

 

ช่องมองภาพ: ช่องที่ช่างภาพใช้มองเพื่อถ่ายภาพ ช่างภาพที่ใช้กล้อง Single Lens Reflex จะสามารถมองดูตัวแบบผ่านอุปกรณ์เลนส์ของกล้องได้ กล้องส่วนมากในปัจจุบันมีช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นหน้าจอดิจิทัลในการแสดงภาพที่เลนส์กล้องจะถ่ายเมื่อปิดชัตเตอร์

 

เลนส์ Wide-Angle: เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสสั้นกว่าความยาวจริงๆ ของตัวเลนส์ ซึ่งช่วยให้สามารถถ่ายภาพได้กว้างยิ่งขึ้น จึงเหมาะสำหรับการถ่ายภาพภูมิทัศน์ ภาพสถาปัตยกรรม และรูปหมู่ที่มีจำนวนคนเยอะๆ

 

เลนส์ซูม: เลนส์ที่ปรับความยาวโฟกัสได้ จึงช่วยให้ช่างภาพสามารถปรับเปลี่ยนมุมได้อย่างรวดเร็วโดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนเลนส์ ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่ช่างถ่ายภาพวารสารศาสตร์และช่างภาพงานกิจกรรมที่ต้องคอยถ่ายภาพระหว่างที่กิจกรรมดำเนินอยู่เนื่องจากเลนส์มีความยืดหยุ่นและใช้ถ่ายภาพได้หลากหลาย

ภาพคอลลาจที่รวมสามภาพ: ภาพคนกำลังเดิน ภาพบุคคล และภาพทิวทัศน์ในเมืองตอนกลางคืน

เทคนิคและคำศัพท์อื่นๆ เกี่ยวกับการถ่ายภาพ

โหมด Aperture Priority: การตั้งค่าในกล้องที่มักเรียกย่อๆ ว่า A หรือ Av ซึ่งช่วยให้ช่างภาพสามารถกำหนดค่ารูรับแสงหรือ F-Number ได้ตามที่ต้องการ แล้วกล้องจะปรับความเร็วชัตเตอร์และค่า ISO ให้สอดคล้องกันโดยอัตโนมัติ จึงเป็นประโยชน์สำหรับการคงระยะชัดลึกหนึ่งๆ ไว้ขณะถ่ายภาพ

 

อัตราส่วนกว้างยาว: อัตราส่วนความกว้างและความสูงของภาพ อัตราส่วนกว้างยาวปกติของกล้องสำหรับผู้ใช้ทั่วไปอยู่ที่ 3:2 และ 4:3 กล้อง Smartphone มักจะถ่ายภาพในอัตราส่วนกว้างยาวที่ 4:3 โดยประมาณ

 

เอฟเฟกต์ Bokeh: คำภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่าเลือนลางหรือเบลอ และใช้อธิบายการเบลอพื้นหลังโดยเจตนา ซึ่งเป็นที่นิยมในการถ่ายภาพบุคคล

 

ความคลาดเคลื่อนของสี: หรือที่เรียกว่า เหลื่อมสีหรือเหลื่อมสีม่วง ซึ่งเป็นเอฟเฟกต์ที่ไม่พึงประสงค์เมื่อเลนส์ไม่สามารถจัดความยาวคลื่นทั้งหมดของสีๆ หนึ่งไปยังตำแหน่งที่ถูกต้องได้ โดยมักพบในภาพถ่ายเก่าๆ ที่มีคุณภาพไม่ดีนัก แต่คุณสามารถเพิ่มเหลื่อมสีในภาพโดยเจตนาเพื่อให้ภาพดูมีความรู้สึกย้อนยุคได้ คล้ายกันกับเอฟเฟกต์ Glitch

 

องค์ประกอบภาพ: การจัดเรียงองค์ประกอบต่างๆ ของภาพภายในเฟรม ช่างภาพจะกำหนดองค์ประกอบภาพได้โดยการขยับกล้อง การปรับโฟกัส หรือการครอบตัดภาพออกในขั้นตอนหลังการถ่ายภาพ กฏสามส่วนถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของเทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพ

กระท่อมไม้บนภูเขาที่มีหิมะปกคลุม
ภาพหุบเขาในป่าซึ่งวางเคียงคู่กันเพื่อเปรียบเทียบการตั้งค่าการเปิดรับแสงที่ต่างกัน

แฟกเตอร์การครอบตัด: อัตราส่วนของขนาดเซนเซอร์กล้องต่อภาพที่เลนส์มองเห็นได้จริง กล้อง DSLR สมัยใหม่มักมีเซนเซอร์หลายตัวที่มีขนาดแตกต่างกันเพื่อควบคุมการบิดเบือนอันเนื่องมาจากแฟกเตอร์การครอบตัด

 

การป้องกันภาพสั่นไหว: วิธีต่างๆ มากมายเพื่อลดความเบลอที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของกล้อง การป้องกันภาพสั่นไหวอาจเป็นผลมาจากอุปกรณ์ที่บรรจุอยู่ภายในกล้อง หรืออาจเป็นผลจากกระบวนการหลังการถ่ายภาพ

 

การเปิดรับแสงมากและน้อยเกินไป: การปล่อยแสงผ่านเข้าสู่กล้องในปริมาณที่มากหรือน้อยเกิน ภาพที่เปิดรับแสงมากเกินไปจะสว่างจ้าจนขาวโพลน โดยที่ตัวแบบมักจะดูซีดเซียว ในขณะที่ภาพถ่ายที่เปิดรับแสงน้อยเกินไปจะดูมืดครึ้ม

 

ขั้นตอนและกระบวนการหลังการถ่ายภาพ: กระบวนการครอบตัด แก้ไข ปรับแต่ง และปรับปรุงไฟล์ภาพถ่ายในโปรแกรมต่างๆ อย่าง Adobe Photoshop และ Photoshop Lightroom

 

ไฟล์รอว์: ข้อมูลต้นฉบับดั้งเดิม ไฟล์รอว์เป็นไฟล์ที่ยังไม่ผ่านการบีบอัดหรือการปรับแต่งใดๆ ซึ่งเหมาะสำหรับการจัดเก็บเอาไว้เนื่องจากไฟล์ประเภทนี้ประกอบไปด้วยข้อมูลภาพที่สมบูรณ์ แต่ไฟล์รอว์อาจมีขนาดใหญ่เกินไปสำหรับการใช้งานบางอย่าง เช่น การใช้งานทางออนไลน์

 

โหมด Shutter Priority: บางครั้งมีการเรียกการตั้งค่านี้ของกล้องว่า Time Value ซึ่งปกติแล้วจะย่อเป็นตัว S หรือ Tv ซึ่งช่วยให้ช่างภาพสามารถกำหนดความเร็วชัตเตอร์ได้ตามที่ต้องการ แล้วกล้องจะปรับรูรับแสงและค่า ISO ให้สอดคล้องกันโดยอัตโนมัติ

 

TIFF: ย่อมาจาก Tagged Image File Format และเป็นรูปแบบไฟล์ยอดนิยมสำหรับการจัดเก็บกราฟิกแรสเตอร์ความละเอียดสูง ซึ่งเป็นกราฟิกที่ประกอบไปด้วยจำนวนพิกเซลตามที่กำหนด โดยสามารถแปลงไฟล์ TIFF เป็นรูปแบบไฟล์อื่นๆ อย่าง JPG และ PNG ได้

 

การสร้าง Vignette: การลดความสว่างบริเวณขอบภาพ เอฟเฟกต์นี้มักจะดึงความสนใจไปยังส่วนที่สว่างๆ กลางภาพและสามารถทำให้ภาพมีลักษณะเหมือนมองผ่านช่องหรือกล้องส่องทางไกล

 

สมดุลสีขาว: การปรับให้สีต่างๆ ดูเป็นธรรมชาติยิ่งขึ้นในภาพถ่ายดิจิทัล โดยเฉพาะที่ขาวที่อาจเพี้ยนเป็นสีฟ้าหรือหรือเหลืองได้ตามอุณหภูมิสีของแสง คุณสามารถแก้ไขสมดุลสีขาวเพื่อให้ปรับสีขาวและสีอื่นๆ ไม่เพี้ยนได้

 

ไม่ว่าคุณจะใช้กล้อง Nikon, Canon หรือแค่กล้อง Smartphone ความเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์เหล่านี้จะช่วยให้คุณเข้าใจการถ่ายภาพยิ่งขึ้น เพื่อให้คุณพัฒนาทักษะของตนเองได้ ต่อจากนี้ คุณสามารถสำรวจการถ่ายภาพประเภทต่างๆ ตั้งแต่การถ่ายภาพแฟชั่นระยะใกล้ ไปจนถึงการถ่ายภาพ Time-Lapse ในตอนกลางคืน เพื่อดูว่าคำศัพท์เหล่านี้มีผลอย่างไรในการถ่ายภาพแต่ละประเภท

ทำสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้นด้วย Adobe Photoshop Lightroom

แก้ไขรูปภาพอย่างง่ายดายด้วย Preset ของ Lightroom อย่างSuper Resolution แชร์ภาพถ่ายอย่างง่ายดายจากทุกอุปกรณ์ และเข้าถึงโปรเจกต์ต่างๆ ของคุณได้ทุกที่ด้วยการจัดการพื้นที่จัดเก็บภาพถ่ายบนระบบคลาวด์

และคุณอาจสนใจ...

จานหลายใบที่มีไอศกรีมแท่งวางอยู่ด้านบน ซึ่งเรียงกันอย่างเป็นระเบียบอยู่บนโต๊ะ

เชิดชูทุกเฉดสีด้วยการถ่ายภาพสี

ปรับปรุงการถ่ายภาพสีของคุณด้วยความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติของการถ่ายภาพสีและเทคนิคการแก้ไขสี

ภาพถ่ายขาวดำของเทือกเขาที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการถ่ายภาพขาวดำ

เรียนรู้การใช้ภาพถ่ายขาวดำเพื่อฝึกฝนทักษะการถ่ายภาพและถ่ายภาพได้สมบูรณ์แบบ

ช่างภาพกำลังถ่ายภาพนายแบบที่โพสท่าอยู่ด้านหน้าฉากหลังสีส้ม

เคล็ดลับการถ่ายภาพให้เก่งขึ้น 

สำรวจเคล็ดลับและข้อมูลเชิงลึกเพื่อสร้างภาพถ่ายที่ดีขึ้น พัฒนาทักษะ และยกระดับจินตนาการของคุณ

ไอคอน Adobe Photoshop Lightroom และ Adobe Photoshop ที่ซ้อนทับอยู่บนรูปภาพ

Lightroom เทียบกับ Photoshop: ควรเลือกใช้โปรแกรมแก้ไขภาพใดตอนไหน

เรียนรู้ความแตกต่างระหว่างโปรแกรมแก้ไขภาพถ่ายชั้นนำในวงการเหล่านี้ และค้นพบเวิร์กโฟลว์การแก้ไขที่เหมาะสำหรับคุณ

Lightroom

แผน Lightroom

แก้ไข จัดระเบียบ จัดเก็บ และแบ่งปันภาพถ่ายได้จากทุกที่
ใช้งานฟรี 7 วัน จากนั้น ฿380.92/เดือน

Lightroom
Photoshop

การถ่ายภาพ

รับ Lightroom, Lightroom Classic, Photoshop และเนื้อที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์ 20 GB ใช้งานฟรี 7 วัน หลังจากนั้น฿304.95/เดือน.(รวม VAT)

Lightroom

All Apps

รับคอลเลกชันแอปสร้างสรรค์ทั้งหมดและอีกมากมาย
ทดลองใช้ฟรี 7 วัน จากนั้น ฿1,143.83/เดือน (รวม VAT)