ลานกว้างของตึกแห่งโลกอนาคต

วิธีผสานการทำงาน Generative AI เข้ากับงานออกแบบด้านสถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรมมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นอนุสาวรีย์ไปจนถึงพิพิธภัณฑ์ หรือแม้กระทั่งบ้านเรือนไปจนถึงโรงพยาบาล Generative AI ช่วยให้สถาปนิกสร้างสภาพแวดล้อมเชิงนวัตกรรมและใช้งานได้จริงได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าที่เคย

ปลดล็อกไอเดียที่ยังไม่เคยมีใครใช้ในงานสถาปัตยกรรมด้วย Generative AI

  • สถาปนิกสามารถใช้ Generative AI เป็นตัวประสานงานเพื่อสังเคราะห์ข้อมูล สุนทรียะ และไอเดียในแนวทางใหม่ๆ ที่ยังไม่มีการสำรวจ
  • ความเร็วและประสิทธิภาพต่างถือเป็นประโยชน์เพิ่มเติมที่จะได้รับเมื่อใช้ Generative AI เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการออกแบบด้านสถาปัตยกรรม
  • หากต้องการเริ่มสำรวจศักยภาพของ Genrative AI ในงานสถาปัตยกรรม ให้ลองทำความรู้จักกับลักษณะการทำงานของเครื่องมือสร้างโดยใช้ AI จากนั้นทำการทดลองด้วยข้อความคำสั่งของคุณเอง แล้วคอยมองหาไอเดียใหม่ๆ ที่ไม่คาดคิด

การเสริมศักยภาพของกระบวนการออกแบบงานด้านสถาปัตยกรรม

หากจะบอกว่าการสร้างสภาพแวดล้อมนั้นเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ก็คงจะไม่ใช่การกล่าวเกินจริง ไม่ว่าจะเป็นตึกสูงระฟ้าเหนือจินตนาการ การวางผังชุมชนชั่วคราว หรือแม้กระทั่งบ้านหลังเล็กๆ ที่ดูเหมือนจะเรียบง่าย

 

การออกแบบเป็นเพียงส่วนหนึ่งในกระบวนการด้านสถาปัตยกรรมในวงกว้างและต้องมีการพิจารณาปัจจัยต่างๆ มากมาย รวมถึงกฎระเบียบการก่อสร้าง งานวิศวกรรมเชิงโครงสร้าง การจัดเขต ระบบสิ่งแวดล้อม และงบประมาณของลูกค้าเป็นต้น แม้ว่าเทคโนโลยีอย่างการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAD) จะเข้ามามีส่วนช่วยให้งานสถาปัตยกรรมเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับสมัยที่ต้องใช้เวลาร่างแบบหลายวัน แต่การใช้งานเทคโนโลยีนี้ก็ยังคงต้องพึ่งพาพลังสมองและความคิดสร้างสรรค์จำนวนมหาศาลในการสร้างโครงสร้างหรือสภาพแวดล้อมที่น่าดึงดูด

 

Generative AI จึงสามารถเข้ามาช่วยเติมเต็มในส่วนนี้ได้ "Generative AI ไม่เพียงแค่เปลี่ยนโฉมวิธีการทำงานของเหล่าสถาปนิก ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการออกแบบและวิธีดั้งเดิมที่พวกเขาใช้ในการสำรวจ แต่ยังเปลี่ยนมุมมอง รวมถึงวิธีการจินตนาการและนึกภาพโลกรอบตัวเรา กล่าวโดยสรุปคือ Generative AI นั้นแปรเปลี่ยนวิธีในการดำเนินงานและออกแบบสภาพแวดล้อมสำหรับความเป็นไปได้ต่างๆ ในอนาคตของเรา" Emily C.S. Pellicano ศาสตราจารย์สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยซีราคิวส์กล่าว

 

การผสานการทำงานของ Generative AI เข้ากับกระบวนการออกแบบงานสถาปัตยกรรม ทำให้สถาปนิกสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเนรมิตสภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้นด้วยนวัตกรรม

ห้องรับรองที่ทันสมัย

ประโยชน์ 4 ข้อของ Generative AI สำหรับสถาปนิก

เช่นเดียวกันกับการใช้งาน Generative AI ทุกกรณีในทุกสายงานอาชีพ สถาปนิกนั้นยังคงสำรวจหาวิธีการต่างๆ ที่สามารถนำเทคโนโลยีใหม่นี้เข้ามาช่วยในสาขาของตน ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นประโยชน์เพียงส่วนหนึ่งที่สถาปนิกที่กำลังปฏิบัติงานและนักศึกษาสาขาวิชาสถาปัตยกรรมสามารถได้รับจาก Generative AI

สะพานขึง

1

คู่หูพร้อมทำงานตลอดเวลา

"สิ่งที่ทำให้ผมตื่นเต้นที่สุดกับการผสานการทำงาน Generative AI เข้ากับการปฏิบัติงานด้านสถาปัตยกรรมก็คือเทคโนโลยีนี้กำลังกลายเป็นเพื่อนร่วมงานในกระบวนการออกแบบ" Pellicano กล่าว

 

โดยเฉพาะในขั้นตอนช่วงต้นของกระบวนการ เมื่อสถาปนิกกำลังวางแนวคิด ปรับปรุง และพัฒนาวิสัยทัศน์ของตน Generative AI ก็สามารถเข้ามาทำหน้าที่เป็นตัวแทนความคิดผู้อื่นได้ ตัวอย่างเช่น สถาปนิกสามารถส่งคิวรีไปยังโมเดล Generative AI เกี่ยวกับโปรเจกต์ปัจจุบันหรือในอดีตเพื่อทำความเข้าใจว่าแนวคิดของพวกเขาเหมาะสมกับภูมิทัศน์ทางสถาปัตยกรรมอย่างไร หรือพวกเขาอาจทดสอบแนวคิดเบื้องต้นโดยใช้ความสามารถในการแปลงข้อความเป็นรูปภาพ

 

ตัวอย่างเช่น สถาปนิกสามารถป้อนข้อความคำสั่งหลายๆ แบบเข้าไปในเครื่องมือสร้างรูปภาพด้วย AI อย่าง Adobe Firefly เพื่อดูว่าแนวคิดสุดแหวกแนวจะให้ผลลัพธ์อย่างไรก่อนที่จะเริ่มออกแบบ

2

มุมมองที่กว้างขึ้นและการคิดนอกกรอบ

หนึ่งในด้านที่น่าตื่นเต้นที่สุดของ Generative AI ก็คือเทคโนโลยีนั้นไม่ต้อง "คิด" ในมุมมองเดียวกับที่มนุษย์คิด แม้มนุษย์ที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่สุดก็มีอคติเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นไปได้ สถาปนิกเองก็ไม่ต่างกัน ตามที่ Pellicano กล่าวว่า Generative AI นั้น "สามารถสร้างการเชื่อมโยงใหม่ๆ และระบุความสัมพันธ์ รูปแบบ และศักยภาพที่ไม่คาดคิด ซึ่งก่อนหน้านี้อาจเป็นมุมมองที่ปัจเจกบุคคลอย่างเราๆ ไม่ได้ตระหนักถึง"

 

ผลลัพธ์ที่ไม่คาดคิดหรือเหนือความคาดหมายจะสามารถปลดล็อคแนวทางใหม่ๆ ที่จะนำทางไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ที่เหล่าสถาปนิกอาจไม่สามารถค้นพบได้หากไม่มีผลลัพธ์เหล่านี้

3

ใช้เวลาอันมีค่าให้เกิดประโยชน์กว่าเคย

Pellicano เตือนเหล่านักศึกษาเกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยี Generative AI เพียงเพื่อให้งานที่ได้รับมอบหมายเสร็จไวขึ้น เนื่องจากสิ่งสำคัญสำหรับนักศึกษาที่จะกลายเป็นสถาปนิกในอนาคตนั้นคือการใช้เวลาเพื่อขยายมุมมองการรับรู้และพิสูจน์ข้อสันนิษฐาน ดังนั้นแทนที่จะมอง Generative AI เป็นเครื่องมือย่นเวลา ให้ลองมองเป็นสิ่งที่จะช่วยให้สถาปนิกใช้เวลาได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้นโดยการลดงานซ้ำซากที่ต้องทำเองอยู่เป็นประจำให้เหลือน้อยที่สุด

4

การสูญเปล่าที่น้อยลงมาพร้อมผลประโยชน์ที่มากขึ้น

หนึ่งในส่วนที่ท้าทายมากที่สุดสำหรับกระบวนการในงานสถาปัตยกรรมนั้นคือการคำนึงถึงปัจจัยจำนวนมหาศาลตั้งแต่เริ่มโปรเจกต์ หากมีบางสิ่งที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นหลังจากที่ขั้นตอนช่วงต้นของการออกแบบเสร็จสิ้นลงแล้ว ตัวอย่างเช่น เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับงบประมาณทำให้ไม่สามารถซื้อวัสดุก่อสร้างบางส่วนได้อีกต่อไป เหตุการณ์เช่นนี้ก็อาจจะส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินโปรเจกต์ตามแผนที่วางไว้ได้

 

เนื่องจาก Generative AI ได้รับการฝึกด้วยข้อมูลปริมาณมากที่ครอบคลุมถึงข้อจำกัดของสถานที่ งบประมาณ วัสดุก่อสร้าง ข้อบังคับการดำเนินการ และอื่นๆ จึงสามารถช่วยให้สถาปนิกและทีมของพวกเขาคำนึงถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ล่วงหน้าและดำเนินการต่อตามแผน (และงบประมาณ) ที่วางไว้ได้เร็วขึ้น อีกทั้งการที่ Generative AI สามารถเข้าถึงข้อมูลประเภทนี้ที่มีอยู่มากมายยังช่วยให้สถาปนิกสังเกตเห็นข้อบกพร่องในการทำงานที่อาจถูกมองข้ามหากไม่มี Generative AI ด้วยเหตุนี้จึงช่วยให้สถาปนิกใช้ประโยชน์สูงสุดจากพื้นที่และวัสดุก่อสร้างได้ ซึ่งถือเป็นข้อดีอย่างยิ่งในด้านความยั่งยืน

 

สิ่งสำคัญคือการไม่ลืมว่าแม้ Generative AI จะมอบ "พลังพิเศษ" ให้แก่สถาปนิก แต่เทคโนโลยีก็ไม่สามารถแทนที่ความคิดเชิงวิพากษ์และอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ได้ นอกจากนี้ ชุดข้อมูลขนาดใหญ่ที่ถูกนำมาใช้ในการฝึกแอปพลิเคชัน Generative AI นั้นยังคงไม่ครอบคลุมทุกอย่างโดยเฉพาะในด้านวัฒนธรรม บุคคล และผลกระทบต่อชุมชนของสภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้น

 

ข้อควรจำ: Generative AI เป็นตัวประสานงาน ไม่ใช่สิ่งที่จะนำมาแทนความคิดและความสร้างสรรค์ที่ดีงามของมนุษย์ได้

ขั้นตอนการออกแบบงานสถาปัตยกรรมกับ Generative AI

แม้ว่าในปัจจุบันนั้นยังไม่มีแอปพลิเคชัน Generative AI สำหรับงานสถาปัตยกรรมโดยเฉพาะ แต่นักศึกษาและผู้เชี่ยวชาญต่างก็นำ Generative AI มาใช้ร่วมกับกระบวนการออกแบบในฐานะตัวเสริมการทำงานของเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว มีหลายกรณีที่ใช้งาน Generative AI กับกระบวนการออกแบบอย่างเต็มรูปแบบ แต่การใช้กับขั้นตอนการออกแบบแผนผังและพัฒนางานออกแบบนั้นก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเยี่ยมในการสำรวจความเป็นไปได้ต่างๆ

 

ตัวอย่างต่อไปนี้อาจเป็นลักษณะการทำงานที่ผสาน Generative AI เข้ากับกระบวนการด้านสถาปัตยกรรม:

การแปลงภาพสเก็ตช์ของงานสถาปัตยกรรมเป็นการเรนเดอร์

การออกแบบแผนผัง

ไม่ว่าจะเป็นการวาดภาพทางเทคนิค แผนผังชั้น แผนผังไซต์ รูปด้านข้าง/ความสูงของอาคาร และอื่นๆ อีกมากมาย การออกแบบแผนผังนั้นถือเป็นการวางรากฐานของโปรเจกต์ Generative AI สามารถช่วยสถาปนิกในการพัฒนาไอเดียที่มีประสิทธิภาพซึ่งจะกลายเป็นพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับส่วนที่เหลือของกระบวนการออกแบบ

การวางแนวคิด

เครื่องมือสร้างโดยใช้ AI สามารถช่วยนักศึกษาและสถาปนิกที่กำลังปฏิบัติงานในการสำรวจตัวเลือกที่หลากหลายได้อย่างรวดเร็วก่อนที่จะตัดสินใจเลือกทิศทางการออกแบบ พวกเขาสามารถเริ่มต้นด้วยไอเดียและการสร้างรูปภาพโดยใช้ฟีเจอร์ Text to Image หรือใช้ความสามารถใน Photoshop เช่น Generative Fill และ Generative Expand ในการสร้างผลงานจากภาพสเก็ตช์ง่ายๆ หรือรูปถ่ายเพื่อลองสำรวจว่าแนวคิดจะสามารถนำไปสู่ผลลัพธ์อย่างไรเมื่อปฏิบัติจริง

กลยุทธ์ ณ ไซต์งานและการจำลองภาพ

ในสตูดิโอแห่งหนึ่งของ Pellicano ที่มหาวิทยาลัยซีราคิวส์ เธอได้ใช้ Generative AI เพื่อช่วยเหลือนักศึกษาค้นหาแนวทางใหม่ๆ ในการตีความ จำลองภาพ และทำความเข้าใจไซต์งานจริงที่พวกเขากำลังทำงานอยู่ นักศึกษาของเธอใช้กระบวนการ "การถ่ายโอนสไตล์แบบนิวรัล" และภาพถ่ายไซต์งานทางอากาศเพื่อตั้งคำถาม ประเมิน และวางแผนสำหรับไซต์งานนั้นๆ ระหว่างการฝึกปฏิบัตินี้ นักศึกษาจะเริ่มต้นด้วยภาพถ่ายไซต์งานทางอากาศแล้ว "ถ่ายโอน" รูปภาพทางเลือกของไซต์งาน (ตัวอย่างเช่น การทำแผนที่ทางประวัติศาสตร์ แผนที่สภาพอากาศหรือแผนที่ประสาทสัมผัส แผนที่ภาษีตามกฎหมาย เป็นต้น) ไปยังภาพถ่ายไซต์งานทางอากาศนั้นๆ

 

"วิธีนี้จะช่วยให้นักศึกษาสามารถจินตนาการทางเลือกนอกกรอบความคิดอคติว่าไซต์งานควรมีลักษณะอย่างไร มีการจัดระเบียบอย่างไร หรือมีความเชื่อมโยงกับบริบทในแนวทางใหม่ๆ ที่มีประสิทธิผลอย่างไร" Pellicano กล่าว

การสร้างวิดีโอ

Generative AI สามารถช่วยสถาปนิกในการสร้างวิดีโอประกอบที่ชัดเจนจากงานเรนเดอร์ 3 มิติหรือภาพเคลื่อนไหวที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งจะมอบประสบการณ์งานออกแบบที่สมจริงให้แก่ผู้ชมวิดีโอ วิดีโอนับเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะช่วยสถาปนิกกำกับการเคลื่อนไหวในพื้นที่และวิธีที่ผู้คนควรจะเดินผ่านพื้นที่นั้นๆ

การออกแบบภายในของพิพิธภัณฑ์
ขยายลานพื้นหลัง

การพัฒนางานออกแบบ

เมื่อใช้การออกแบบแผนผังที่ได้รับการอนุมัติ สถาปนิกจะสามารถเริ่มต้นระบุรายละเอียดทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นวัสดุ ของประจำที่ และพื้นผิวสุดท้ายของงานก่อสร้างที่พวกเขาจะใช้ รวมถึงการจัดวางตำแหน่งประตูและหน้าต่างด้วย Generative AI สามารถช่วยสถาปนิกทำให้แนวคิดและแผนแรกเริ่มเป็นรูปเป็นร่างได้ทั้งในรูปงานออกแบบ 2 มิติกับ 3 มิติที่คมชัด ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาสามารถสื่อสารกันเกี่ยวกับแนวคิดนั้นๆ ได้

การแก้ไขรูปภาพ

สถาปนิกส่วนใหญ่จะใช้งานซอฟต์แวร์การออกแบบงาน 2 มิติและ 3 มิติที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการสร้างภาพที่มีรายละเอียดของโครงสร้างที่พวกเขากำลังออกแบบ เมื่อใช้ Generative AI พวกเขาจะสามารถเพิ่มบริบทและสไตล์ให้กับรูปภาพ เช่น การออกแบบภูมิทัศน์ วัสดุก่อสร้าง พื้นผิว และสี รวมถึงองค์ประกอบเพิ่มเติมอย่างเฟอร์นิเจอร์ ฮาร์ดแวร์ และองค์ประกอบการออกแบบภายในอื่นๆ นอกจากนี้ ความสามารถอย่างการเติมพื้นหลังหรือที่รู้จักกันในนามฟีเจอร์ Generative Expand ของ Photoshop ยังช่วยให้สถาปนิกสามารถขยายรูปภาพหรือเปลี่ยนอัตราส่วนภาพได้ง่ายๆ โดยไม่กระทบต่อรูปลักษณ์และความรู้สึกของภาพดังกล่าว

การเรนเดอร์ 2 มิติและ 3 มิติ

การเปลี่ยนงานออกแบบ 2 มิติเรียบๆ ให้เป็นโมเดล 3 มิตินั้นอาจใช้เวลานาน แต่การใช้เทคโนโลยีใหม่อย่าง Generative AI นั้นสามารถทำเช่นนั้นได้อย่างรวดเร็วและง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก แน่นอนว่าการมีความรู้เกี่ยวกับการสร้างโมเดล 3 มิติในฐานะสถาปนิกยังคงมีคุณค่า แต่การเรนเดอร์ 3 มิติที่ทำได้แทบจะทันทีนั้นสามารถช่วยให้ทำการเปลี่ยนแปลงในนาทีสุดท้ายได้อย่างรวดเร็ว

ขณะที่สถาปนิกและนักศึกษาสาขาสถาปัตยกรรมเริ่มใช้ Generative AI ในงานของตนมากขึ้น กรณีการใช้งานใหม่ๆ จะต้องเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน นอกเหนือจากนี้ เทคโนโลยี Generative ยังอาจสร้างการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการออกแบบด้านสถาปัตยกรรมด้วยตนเองได้อีกด้วย "ฉันคิดว่า Generative AI จะเปลี่ยนขั้นตอนการออกแบบด้านสถาปัตยกรรมไปโดยสิ้นเชิง" Pellicano กล่าว

การเขียนแบบร่างอาคารห้องสมุดเชิงสถาปัตยกรรม

อนาคตของ Generative AI ในงานสถาปัตยกรรม

เช่นเดียวกับที่ปัญญาประดิษฐ์ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขคำผิดอัตโนมัติหรือแอปแผนที่ที่ช่วยให้คุณสามารถเลี่ยงการจราจรติดขัดแบบเรียลไทม์ได้ Generative AI ก็มีเป้าหมายที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งซึ่งจะช่วยให้กระบวนการออกแบบด้านสถาปัตยกรรมเป็นไปอย่างราบรื่น

 

"ฉันคาดว่าสถาปนิกทุกคนจะเริ่มนำ AI มาใช้ในการทำงาน ไม่ว่าพวกเขาจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม" Pellicano กล่าว "AI จะถูกนำมาใช้งานในแพ็คเกจซอฟต์แวร์มาตรฐานของเรามากขึ้นเรื่อยๆ และจะทำงานในเบื้องหลังในแบบที่เราต่างก็ไม่รู้ตัว หรือในแบบที่ไม่คาดคิด" เทคโนโลยี Generative AI จะทำหน้าที่เป็นส่วนขยายวิสัยทัศน์และความคิดสร้างสรรค์ของสถาปนิก ซึ่งจะขยายขอบเขตของความเป็นไปได้เช่นเดียวกับที่เทคโนโลยีได้ทำเสมอมา ไม่ว่าจะเป็นไม้บรรทัด เข็มทิศ ตลอดจนเครื่องร่างแบบ รวมถึงซอฟต์แวร์การออกแบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วย และอื่นๆ อีกมากมาย

 

คำแนะนำของ Pellicano สำหรับสถาปนิกที่ต้องการก้าวนำผู้อื่นด้วยเทคโนโลยี Generative AI ก็คือ ให้เรียนรู้ลักษณะการทำงาน เรียนรู้ลักษณะการทำงานของเครื่องมือดังกล่าว เรียนรู้เกี่ยวกับชุดข้อมูลที่โมเดลต่างๆ ใช้งาน สำรวจลักษณะการทำงานของการสังเคราะห์เนื้อหา จากนั้นก็ทดลองวนไป นับเป็นผลลัพธ์ที่เหนือความคาดหมาย เป็นผลลัพธ์ที่สมองของมนุษย์ก็ไม่อาจจะคาดการณ์ได้ ซึ่งมีศักยภาพสูงสุดเพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม

 

"ฉันขอแนะนำว่าผู้ที่อยากนำ Generative AI มาใช้ในการทำงาน ให้ใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าวด้วยความใคร่รู้และต้องการมีอิสระที่จะคิดนอกกรอบ" Pellicano กล่าว

หนึ่งวิธีในการเริ่มทดลองใช้งาน Generative AI สำหรับงานสถาปัตยกรรมคือใช้งาน Adobe Firefly และฟีเจอร์ต่างๆ ใน Photoshop ที่ขับเคลื่อนโดย Firefly ทดลองข้อความคำสั่งต่างๆ ด้วยฟีเจอร์ Text to Image, เพิ่มหรือลบองค์ประกอบจากงานออกแบบด้วย Generative Fill และขยายรูปภาพให้ออกนอกขอบด้วย Generative Expand อย่าลืมที่จะใช้งานอย่างสนุกสนานและใช้ลูกเล่นต่างๆ เพราะผลลัพธ์ที่ไม่คาดคิดจะเป็นเครื่องพิสูจน์แก่นแท้ไอเดียอันยอดเยี่ยมถัดไปของคุณ


ผู้มีส่วนร่วม

 

Emily C.S. Pellicano


ก้าวสู่อนาคตด้วย Adobe Firefly

ใช้ Generative AI และข้อความคำสั่งง่ายๆ เพื่อสร้างผลลัพธ์คุณภาพสูง ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ เอฟเฟกต์ข้อความ จานสี และอื่นๆ

และคุณอาจชอบ

 ภูมิทัศน์ของอวกาศที่สร้างโดย Firefly
 ป่าทองคำที่สร้างโดย Firefly
 ภาพประภาคารกลางทะเลที่สร้างโดย Firefly
 นักบินอวกาศบนพื้นหลังอวกาศหลากสีสันที่สร้างโดย Firefly